๖๑๔    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๖๑๕
มีความเดือดร้อนเป็นต้น   และเพราะความมีการเสพโดยเอื้อเฟื้อเป็นต้น
ด้วยดีของพระอรหันต์ทั้งหลาย.
         พึงประกอบมีอาทิว่า  เอกนฺตนิพฺพิทานาย - เพื่อความเบื่อ-
หน่ายโดยส่วนเดียว  ในขณะแห่งมรรค   ดุจสติปัฏฐานและสัมมัปธาน.
         พึงประกอบคำทั้งสองนี้ว่า   สํวรปาริสุทฺธึ    สมฺมา   ปสฺสติ,
อริกฺเขปปาริสุทฺธึ  สมฺมา ปสฺสติ - พระโยคาวรย่อมเห็นความบริสุทธิ์
ด้วยสังวรโดยชอบเป็นศีล,       ย่อมเห็นความบริสุทธิ์ด้วยจิตไม่ฟุ้งซ่าน
โดยชอบเป็นศีล   ด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนาเพื่อประโยชน์แก่ผลสมาบัติ.
คำที่สองย่อมถูกต้อง    แม้ด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนา  เพื่อประโยชน์แก่
นิโรธสมาบัติ.  ในคำทั้ง  ๕  มีอาทิว่า  อาวชฺชนฺโต  สิกฺขติ  พึงทราบ
ว่าท่านกล่าวว่า  สิกฺขติ   เพราะสภาพมีสีลขันธ์ของพระอเสกขะเป็นต้น
แม้ในความไม่มีสิ่งที่ต้องศึกษาของพระอรหันต์,
           บทมีอาทิว่า  สทฺธาย    อธิมุจฺจนฺโต  สิกฺขติ  -  พระโยคาวจร
น้อมไปด้วยศรัทธา    ก็ชื่อว่าย่อมศึกษา     ท่านกล่าวหมายถึงขณะแห่ง
มรรคนั่นเอง.  พึงประกอบคำแม้อื่นที่ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งอุปจาระ
อัปปนา  วิปัสสนาและมรรคตามสมควร.
                           จบ  อรรถกถาสีลมยญาณนิทเทส
สมาธิภาวนามยญาณนิทเทส
             [๙๒]ปัญญาในการสำรวมแล้วตั้งไว้ด้วยดี  เป็นสมาธิภาวนา-
มยญาณอย่างไร ?  สมาธิอย่างหนึ่ง  คือ  เอกัคตาจิต.  สมาธิ  ๒  คือ
โลกิยสมาธิ  ๑ โลกุตรสมาธิ  ๑.  สมาธิ  ๓  คือ  สมาธิมีวิตกและวิจาร  ๑
สมาธิไม่มีวิตกมีแต่วิจาร  ๑   สมาธิไม่มีวิตกไม่มีวิจาร  ๑.  สมาธิ    ๔  คือ
สมาธิมีส่วนเสื่อม  ๑    สมาธิเป็นส่วนตั้งอยู่  ๑  สมาธิเป็นส่วนวิเศษ  ๑
สมาธิเป็นส่วนชำแรกกิเลส  ๑.  สมาธิ  ๕  คือ  สมาธิมีปีติแผ่ไป  ๑  สมาธิ
มีสุขแผ่ไป ๑  สมาธิมีจิตแผ่ไป ๑   สมาธิมีแสงสว่างแผ่ไป   ๑   สมาธิมี
การพิจารณาเป็นนิมิต  ๑.  สมาธิ ๖ คือ   สมาธิมีเอกัคตาจิตมิได้ฟุ้งซ่าน
ด้วยสามารถพุทธานุสติ  ๑  ธรรมานุสติ ๑   สังฆานุสติ  ๑  สีลานุสติ  ๑
จาคานุสติ  ๑  เทวตานุสติ ๑.  สมาธิ  ๗ คือ ความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ  ๑
เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ ๑  ความเป็นผู้ฉลาดในการตั้งสมาธิ  ๑.
ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาธิ   ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในความงาม
แห่งสมาธิ ๑   ความเป็นผู้ฉลาดในโคจรแห่งสมาธิ ๑  ความเป็นผู้ฉลาด
ในการน้อมไปแห่งสมาธิ ๑.  สมาธิ  ๘ คือ  สมาธิมีเอกัคตาจิตมิได้ฟุ้งซ่าน
ด้วยสามารถปฐวีกสิณ ๑   อาโปกสิณ  ๑   เตโชกสิณ ๑   วาโยกสิณ ๑
นีลกสิณ  ๒  ปีตกสิณ  ๑  โลหิตกสิณ ๑  โอทาตกสิณ  ๑.  สมาธิ  ๙  คือ
รูปาวจรสมาธิส่วนเลว  ๑  ส่วนปานกลาง ๑   ส่วนประณีต  ๑    อรูปา-
วจรส่วนเลว  ๑  ส่วนปานกลาง  ๑   ส่วนประณีต  ๑    สุญญตสมาธิ  ๑