๖๑๖    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๖๑๗
อนิมิตตสมาธิ ๑   อัปปณิหิตสมาธิ ๑.  สมาธิ ๑๐  คือ  สมาธิมีเอกัคตา-
จิตมิได้ฟุ้งซ่านด้วยสามารถอุทธุมาตกสัญญา ๑ วินีลกสัญญา ๑  วิปุพ-
พกสัญญา ๑  วิฉิททกสัญญา  ๑ วิกขายิตกสัญญา  ๑ วิกขิตตกสัญญา  ๑
หตวิกขายิตกสัญญา   ๑ โลหิตกสัญญา  ๑  ปุฬุวกสัญญา  ๑  อัฏฐิกสัญญา ๑
สมาธิเหล่านี้รวมเป็น  ๕๕.
           [๙๓]  อีกอย่างหนึ่ง   สภาพในความเป็นสมาธิแห่งสมาธิ  ๒๕
ประการ คือ สมาธิเพราะอรรถว่าอันสัทธินทรีย์เป็นต้นกำหนดถือเอา  ๑
เพราะอรรถว่าอินทรีย์เป็นบริวารแห่งกันและกัน   ๑  เพราะอรรถว่า
สัทธินทรีย์เป็นต้นบริบูรณ์ ๑    เพราะอรรถว่ามีอารมณ์เป็นอันเดียว ๑
เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ๑   เพราะอรรถว่าไม่แส่ไป  ๑  เพราะอรรถว่า
ไม่ขุ่นมัว ๑   เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว ๑  เพราะอรรถว่าหลุดพ้นจาก
กิเลส  ๑   เพราะความที่จิตตั้งอยู่ด้วยสามารถความตั้งมั่นในความเป็นจิต
มีอารมณ์เดียว ๑   เพราะอรรถว่าแสวงหาความสงบ   ๑   เพราะอรรถว่า
ไม่แสวงหาธรรมอันเป็นข้าศกแก่ความสงบ ๑  เพราะแสวงหาความสงบ
แล้ว ๑ เพราะไม่แสวงหาธรรมอันเป็นข้าศึกแก่ความสงบแล้ว  ๑  เพราะ
อรรถว่ายึดมั่นความสงบ ๑   เพราะอรรถว่าไม่ยืดมั่นธรรมอันเป็นข้าศึก
แก่ความสงบ ๑  เพราะยึดมั่นความสงบแล้ว  ๑    เพราะไม่ยึดมั่นธรรม
๑. นับแล้วได้ ๒๗.
อัน เป็นข้าศึกแก่ความสงบแล้ว ๑   เพราะอรรถว่าปฏิบัติสงบ ๑   เพราะ
 อรรถว่าไม่ปฏิบัติสงบ ๑    เพราะปฏิบัติสงบแล้ว ๑   เพราะไม่ปฏิบัติ
ไม่สงบแล้ว ๑   เพราะอรรถว่าเพ่งความสงบ ๑  เพราะอรรถว่าเผาธรรม
อันเป็นข้าศึกแก่ความสงบ ๑     เพราะเพ่งความสงบแล้ว ๑    เพราะเผา
ธรรมอันเป็นข้าศึกแก่ความสงบแล้ว ๑   เพราะอรรถว่าเป็นธรรมสงบ
เป็นสภาพเกื้อกูลและนำสุขมาให้ ๑    สภาพในความเป็นสมาธิ
เหล่านี้รวมเป็น ๒๕.
          ชื่อว่าญาณ    เพราะอรรถรู้ว่าธรรมนั้น   ชื่อว่าปัญญา    เพราะ
อรรถว่ารู้ชัด     เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า   ปัญญาในการสรวมแล้ว
ตั้งไว้ดี  เป็นสมาธิภาวนามยญาณ.
อรรถกถาสมาธิภาวนามยญาณนิทเทส
           ๙๒]  พึงทราบวินิจฉัยในสมาธิภาวนมยญาณนิทเทส     ดังต่อ
ไปนี้   พระสารีบุตรเมื่อจะแสดงประเภทของสมาธิ ตั้งแต่หมวดหนึ่งๆ แต่
ต้นจนถึงหมวด ๑๐  จึงกล่าวบทมีอาทิว่า   เอโก   สมาธิ อย่าง
หนึ่ง.
          ในบทเหล่านั้น  บทว่า  จิตฺตสฺส   เอกคฺคตา - ความว่าชื่อว่า
 เอกคฺโค   เพราะอรรถว่ามีอารมณ์เลิศ คือ สูงสุดอย่างหนึ่ง   เพราะ