๖๑๘    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๖๑๙
ไม่มีความฟุ้งซ่านแห่งอารมณ์ต่างๆ,    ความแห่งเป็น  เอกคฺโคนั้น
ชื่อว่า   เอกคฺคตา  เพื่อแสดงความที่มีจิตมีอารมณ์หนึ่งนั้น  ไม่ใช่สัตว์
ท่านจึงกล่าวว่า  จิตฺตสฺส.
           ในหมวด ๒  บทว่า  โลกิโย  วัฏฏะท่านกล่าวว่า โลโก  เพราะ
อรรถว่าแตกสลายไป,    สมาธิประกอบแล้วในโลก โดยความเป็นสมาธิ
เนื่องอยู่ในวัฏฏะนั้น เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า โลกิยะ.
            บทว่า  โลกุตฺตโร  ชื่อว่า   อุตตระ  เพราะข้ามไปแล้ว,    ชื่อว่า
โลกุตระ   เพราะข้ามไปจากโลกโดยความเป็นสมาธิไม่เนื่องอยู่ในโลก
            ในหมวด  ๓   ชื่อว่า   สวิตกฺกสวิจาโร   เพราะสมาธิมีวิตกและ
วิจาร. สมาธิไม่มีวิตกไม่มีวิจารก็ทำนองนั้น. ในสมาธิที่มีวิตกและวิจาร
ชื่อว่า      วิจารมตฺโต เพราะอรรถว่ามีแต่วิจารเท่านั้นเป็นประมาณ
อธิบายว่า สมาธิไม่ถึงการประกอบร่วมกันกับด้วยวิตกยิ่งกว่าวิจาร. ชื่อว่า
อวิตกฺกวิจารมตฺโต เพราะสมาธินั้นไม่มีวิตกมีแต่วิจาร. แม้ใน ๓ อย่าง
อาจารย์บางพวกก็ตัดออกไป. หมวด ๔ หมวดมีอธิบายไว้แล้ว.
            ในหมวด ๖ สตินั่นแลเพราะเกิดขึ้นบ่อย ๆ จึงชื่อว่า อนุสติ,
อีกอย่างหนึ่งชื่อว่าอนุสติ เพราะสมควรแก่กุลบุตรผู้บวชด้วยศรัทธา
เพราะเป็นไปในฐานะที่ควรเป็นไปบ้าง, อนุสติ เกิดขึ้นปรารภถึง
พระพุทธเจ้า ชื่อว่า พุทธานุสติ. บทนี้เป็นชื่อของสติมีคุณของพระ
พุทธเจ้ามีพระอรหันต์เป็นต้นเป็นอารมณ์.   ชื่อว่า  อวิกฺเขโป   เพราะ
ความที่จิตมีอารมณ์เดียว   ด้วยสามารถแห่งพุทธานุสตินั้นนั่นเอง    ไม่
ฟุ้งซ่านโดยความเป็นปฏิปักษ์ของความฟุ้งซ่านอันได้แก่  อุทธัจจะ
          อนุสติเกิดขึ้นเพราะปรารภ พระธรรม  ชื่อว่าธรรมานุสติ.  บท
นี้เป็นชื่อของสติมีคุณของพระธรรม    มีความที่พระธรรมอันพระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้วเป็นต้นเป็นอารมณ์.
          อนุสติเกิดขึ้นปรารภพระสงฆ์  ชื่อว่า  สังฆานุสติ,  บทนี้เป็น
ชื่อของสติมีคุณของพระสงฆ์มีความที่พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้วเป็นต้น
เป็นอารมณ์.
          อนุสติเกิดขึ้นปรารภศีล  ชื่อว่า  สีลานุสติ,   บทนี้เป็นชื่อของ
สติ  มีคุณของศีลมีความที่ศีลของตนไม่ขาดเป็นต้น.
           อนุสติเกิดขึ้นปรารภจาคะ   ชื่อว่า  จาคานุสติ,      บทนี้เป็นชื่อ
ของสติมีคุณของจาคะมีความที่ตนสละออกไปแล้ว.
          อนุสติเกิดขึ้นปรารภเทวดาทั้งหลาย  ชื่อว่า  เทวตานุสติ.   บท
นี้เป็นชื่อของสติมีคุณของศรัทธาเป็นต้น  ของตนเป็นอารมณ์   ตั้งเทวดา
ไว้ในฐานะเป็นพยาน.
          ในหมวด  ๗  บทว่า  สมาธิกุสลตา - ความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ
หลายประเภท   โดยประเภทมีสมาธิอย่างเดียวเป็นต้นว่า     นี้เป็นสมาธิ