๖๒๐    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๖๒๑
อย่างนี้,    นี้เป็นสมาธิอย่างนี้.     บทนี้เป็นชื่อของปัญญากำหนดสมาธิ.
ความเป็นผู้ฉลาดโดยวิธีทำให้สมาธิเกิด   เพราะเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ.
         บทว่า  สมาธิสฺส  สมาปตฺติกุสลตา - ความเป็นผู้ฉลาดใน
การเข้าสมาธิ ได้แก่   ความเป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิที่ทำให้เกิดแล้ว.
ด้วยบทที่เป็นอันท่านกล่าวถึงความเป็นผู้ชำนาญในการเข้าสมาธิ.
          บทว่า  สมาธิสฺส   ฐิติกุสฺลตา - ความเป็นผู้ฉลาดในการตั้ง
สมาธิ  ได้แก่   ความเป็นผู้ฉลาดในการตั้งสมาธิที่เข้าแล้วตามความชอบ
ใจด้วยสามารถความสืบต่อกันไป.   ด้วยบทนี้เป็นอันท่านกล่าวถึงความ
เป็นผู้ชำนาญในการตั้งใจ.
          อีกอย่างหนึ่ง    เมื่อพระโยคาวจรนั้น    ยังอาการเหล่านั้นให้ถึง
พร้อมด้วยการถือเอานิมิต  ย่อมสำเร็จเพียงอัปปนาเท่านั้น,    ไม่ยั่งยืน.
ส่วนฐานะที่ยั่งยืนย่อมมีได้   เพราะชำระธรรมอันเป็นอันตรายแก่สมาธิ
ไว้ด้วยดี.    จริงอยู่ภิกษุใดข่มกามฉันทะ   ด้วยการพิจารณาโทษของกาม
เป็นต้นไว้ด้วยดีไม่ได้      กระทำความยาบช้าทางกายด้วยกายปัสสัทธิ
ให้สงบด้วยดีไม่ได้,    บรรเทาถีนมิทธะด้วยความใส่ใจถึง   อารัมภธาตุ
คือความเพียรให้ดีไม่ได้.     ถอนอุทธัจจะกุกกุจจะด้วยใส่ใจถึงสมถนิมิต
ให้ดีไม่ได้,  ชำระธรรมอันเป็นอันตรายของสมาธิให้ดีไม่ได้   แล้วเข้า
ฌาน,  ภิกษุนั้นย่อมออกจากฌานโดยเร็วทันที    ดุจภมรเข้าไปยังที่อยู่
อันไม่สะอาด   และพระราชาเสด็จเข้าไปสู่อุทยานที่แสนจะสกปรก  ย่อม
ออกไปโดยเร็วพลัน.
             ส่วนภิกษุใดชำระธรรมอันเป็นอันตรายแก่สมาธิได้ดร    แล้วเข้า
ฌาน,  ภิกษุนั้นย่อมเข้าฌานภายในสมาบัติได้ตลอดวันทั้งสิ้น    ดุจภมร
เข้าไปยังที่อาศัยอันสะอาด,      และพระราชาเสด็จเข้าไปยังอุทยานอัน
เรียบร้อย   ย่อมอยู่ได้ตลอดวัน.   ดังที่พระโบราณาจารย์กล่าวไว้ว่า
                   กาเมสุ   ฉนฺทํ  ปฏิฆํ  วิโนทเย
                   อุทฺธจฺจถีนํ  วิจิกิจฺฉปญฺจมํ,
                   วิเวกปามุชฺชกเรน   เจตสา
                   ราชาว  สุทฺธนฺตคโต  ตหึ  รเม.
                   พระโยคาวจรผู้มีจิตทำความปราโมทย์ในวิเวก
           พึงบรรเทาความพอใจในกามทั้งหลาย  ความเคียด-
           แค้น  ความฟุ้งซ่าน  ความหดหู่   และความสงสัย
           เป็นที่ ๕,    ดุจพระราชาเสด็จไปสู่สถานที่โดยเป็น
           ระเบียบเรียบร้อย  ทรงพึงพอพระทัย ณ ที่นั้น.
           เพราะฉะนั้น       ท่านจึงกล่าวไว้ว่า อันพระโยคาวจรผู้ประสงค์
จะตั้งอยู่ตลอดกาลนาน     พึงชำระธรรมอันเป็นข้าศึก   แล้วจึงเข้าฌาน
เป็นอันท่านกล่าวถึงความเป็นผู้ฉลาดในการยังวิธีนั้นให้ถึงพร้อม    แล้ว
จึงทำสมาธิให้ตั้งอยู่ได้นาน.