บทว่า สมาธิสฺส วุฏฺานกุสลตา - ความเป็นผู้ฉลาดในการ |
ออกจากสมาธิ ได้แก่ ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาธิ ด้วยการ |
ออกตามเวลาที่กำหนดไว้แห่งสมาธิที่เป็นไปแล้วตามความพอใจด้วยการ |
สืบต่อกันไป. พึงทราบว่าท่านทำเป็นฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถแห่งปัญจมี |
วิภัตติ ดุจในประโยคมีอาทิว่า ยสฺสาปิ ธมฺมํ ปุริโส วิชญฺา๑- |
บุรุษพึงรู้แจ้งธรรมแม้จากผู้ใด. ด้วยบทนี้เป็นอันท่านกล่าวถึงความเป็น |
ผู้ชำนาญในการออกจากสมาธิ. |
บทว่า สมาธิสฺส กลฺลตากุสลตา - ความเป็นผู้ฉลาดในความ |
งามแห่งสมาธิ ความว่า ความเป็นผู้ไม่เจ็บไข้ ความเป็นผู้ไม่มีโรค |
ชื่อว่า กลฺลตา. ความเจ็บไข้ท่านกล่าวว่า อกลฺลโก แม้ในวินัย |
ท่านก็กล่าวไว้ว่า นาหํ ภนฺเต อกลฺลโก๒- ท่านขอรับผมไม่เจ็บไข้. |
ความเป็นผู้ฉลาดในการทำความไม่เจ็บไข้แห่งสมาธิ ด้วยความไม่มีความ |
ปรารถนาอันลามก ซึ่งเป็นข้าศึกของการได้ฌานดังที่ท่านกล่าวไว้ใน |
อนังคณสูตร และวัตถุสูตร๓ และด้วยความปราศจากอุปกิเลสของจิตมี |
อภิชฌาเป็นต้น, ท่านกล่าวว่า ความเป็นผู้ฉลาดในความงามของ |
สมาธิ คือความเป็นผู้ฉลาดในความเป็นผู้ไม่มีความเจ็บไข้ คือกิเลส. |
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า กลฺลตา ได้แก่ ความเป็นผู้ควรแก่การงาน |
เพราะความที่คำว่า กลฺล เป็นไวพจน์ของกัมมัญญตา - ความเป็นผู้ |
|