๖๒๔    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๖๒๕
           อีกอย่างหนึ่ง   ความเป็นผู้ฉลาดในโคจรแห่งสมาธิด้วยสามารถ
การแผ่กสิณไปในทิศาภาคนั้น ๆ       และด้วยสามารถการตั้งไว้นานแห่ง
กสิณที่ถูกต้องแล้วอย่างนี้.
          บทว่า    สมาธิสส   อภินีหารกุสลตา - ความเป็นผู้ฉลาดใน
การน้อมไปแห่งสมาธิ   ความว่า  ความเป็นผู้ฉลาดในการน้อมไปในการ
ทำสมาธิต่าง ๆ  โดยนัยความเป็นอันเดียวกัน  ด้วยการน้อมเข้าไปสู่ความ
เป็นสมาธิสูง  ๆ.   จริงอยู่   อุปจารฌานถึงความชำนาญ   ย่อมน้อมเข้าไป
เพื่อประโยชน์แก่ปฐมฌาน  หรือเพื่อประโยชน์แก่วิปัสสนา.   ปฐมฌาน
เป็นต้นก็อย่างนั้น    ย่อมน้อมเข้าไปเพื่อประโยชน์แก่ทุติยฌานเป็นต้น
หรือเพื่อประโยชน์แก่วิปัสสนา, จตุตถฌานย่อมน้อมไปเพื่อประโยชน์แก่
อรูปสมาบัติ    หรือเพื่อประโยชน์แก่อภิญญา     หรือเพื่อประโยชน์แก่
วิปัสสนา,   อากาสานัญจายตนะย่อมน้อมเข้าไปเพื่อประโยชน์แก่วิญญา-
ณัญจายตนะเป็นต้น  หรือเพื่อประโยชน์แก่วิปัสสนา  ความเป็นผู้ฉลาด
ในการน้อมไปแห่งสมาธิในญาณนั้น ๆ  อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้.   ก็
เพราะปัญญา  ชื่อว่าความเป็นผู้ฉลาด.  ปัญญานั้นไม่ใช่สมาธิ.  ฉะนั้น
พึงทราบว่า  สมาธิ ๗ อย่าง   ท่านกล่าวด้วยสามารถปัญญานำไปสู่สมาธิ.
            ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า บทว่า สมาธิกุสลตา - ความเป็น
ผู้ฉลาดในสมาธิ  ได้แก่  ความเป็นผู้ฉลาดในความใส่ใจที่จิตไม่ฟุ้งซ่าน.
         บทว่า  สมาปตฺติกุสลตา - ความเป็นผู้ฉลาดในสมาบัติ ได้แก่
ความเป็นผู้ฉลาดในความใส่ใจที่องค์ฌานปรากฏแก่ผู้เข้าฌาน.
         บทว่า   €ิติกุสลตา -  ความเป็นผู้ฉลาดในการตั้ง   ได้แก่  ความ
รู้การออกจากนิวรณ์ในความใส่ใจที่สมาธิแน่นแฟ้นไม่ฟุ้งซ่าน.
         บทว่า   วุฏ€านกุสลตา - ความเป็นผู้ฉลาดในการออก   ได้แก่
รู้การออกจากนิวรณ์ในปฐมฌาน,  รู้การออกจากองค์ในฌาน  ๓, รู้การ
ออกจากอารมณ์ในอรูปสมาบัติ,   รู้การออกจากความฟุ้งซ่านในลักษณะ
อันมีประมาณยิ่ง,   รู้การออกจากความพอใจของตนในกาลมีที่สุดและใน
กาลมีกิจที่ควรทำครั้งสุดท้าย.
          บทว่า    กฺลลตกุสลตา - ความเป็นผู้ฉลาดในความงาม ได้แก่
รู้ว่าความเป็นผู้ฉลาดในความงามแห่งสมาธิ     เพราะจิตสบาย   ร่างกาย
สบาย   อาหารสบาย   เสนาสนะสบาย   และบุคคลสบาย.
          บทว่า  โคจรกุสลตา - ความเป็นผู้ฉลาดในโคจร    ได้แก่   รู้
เพื่อทำความกำหนดอารมณ์,    รู้เพื่อทำความแผ่ไปยังทิศ,   รู้เพื่อความ
เจริญ.
         บทว่า   อภินีหารกุสลตา - ความเป็นผู้ฉลาดในการน้อมเข้าไป
ได้แก่   น้อมนำจิตเข้าไปด้วยการใส่ใจโดยชอบในสมาธินั้น ๆ,         เมื่อ
อุปจาระถึงความชำนาญแล้ว  ย่อมนำจิตเข้าไปในปฐมฌาน,   ย่อมนำจิต
เข้าไปในฌานสูง ๆ    ในอภิญญา    ในอรูปสมาบัติ    และในวิปัสสนา.