อาจารย์ทั้งหลายย่อมพรรณนา ความแห่งบททั้งหลายเหล่านี้อย่างนี้ว่า |
ความเป็นผู้ฉลาด ในการน้อมไปในสมาธินั้น ๆ ด้วยประการฉะนี้. |
หมวด ๘ มีอรรถดังกล่าวแล้ว. ในหมวด ๙ บทว่า รูปาวจโร |
ธรรมเป็นรูปเป็นไฉน? รูปาวจรเนื่องในรูปาวจรธรรม ดังที่ท่าน |
กล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า เหฏฺโต พฺรหฺมโลกํ ปริยนฺตํ กริตฺวา |
อุปริโต อกนิฏฺเ เทเว อนฺ โตกริตฺวา๑ เบื้องล่าง ทำพรหมโลกใหัมี |
ที่สุด เบื้องบนทำเทพชั้นอกนิฏฐ์เป็นที่สุด. ในข้อนี้มีวจนัตถะดังต่อไปนี้ |
นี้ ชื่อว่า รูปาวจร เพราะอรรถว่ารูป ได้แก่ รูปขันธ์ ย่อมเที่ยวไป |
ในรูปภพนี้, ไม่ใช่กามภพ, เพราะว่าแม้รูปขันธ์ท่านก็กล่าวว่ารูป ดุจ |
ในบทมีอาทิว่า รูปกฺขนฺโธ รูปํ ๒- รูปขันธ์เป็นรูป. อนึ่ง รูปพรหมนั้น |
มี ๑๖ ชั้น คือ |
พรหมปาริสัชชะ ๑ |
พรหมปุโรหิต ๑ |
มหาพรหม ๑ |
ปริตตาภา ๑ |
อัปปมาณาภา ๑ |
อาภัสสรา ๑ |
ปริตตสุภา ๑ |
|
|
อัปปมาณสุภา ๑ |
สุภกิณหา ๑ |
อสัญญีสัตว์ ๑ |
เวหัปผลา ๑ |
อวิหา ๑ |
อตัปปา ๑ |
สุทัสสา ๑ |
สุทัสสี ๑ |
อกนิฏฐา ๑. |
ที่อยู่กล่าวคือรูปาวจรภพนั้นท่านกล่าวว่า รูป เพราะลบบทหลัง, |
ชื่อว่า รูปาวจร เพราะเที่ยวไปในรูปนั้น. อีกอย่างหนึ่ง รูป คือ รูปภพ, |
ชื่อว่า รูปาวจร เพราะเที่ยวไปในรูปภพนั้น. จริงอยู่ สมาธินี้เที่ยว |
ไปแม้ในกามภพ แม้เมื่อเที่ยวไปในที่อื่น ท่านก็กล่าวว่า รูปาวจรภพ |
เหมือนช้างได้ชื่อว่า สงฺคามาวจร เพราะเที่ยวไปในสงความ แม้ |
เที่ยวไปในเมืองก็เรียกว่าสังคามาวจร, เหมือนสัตว์ทั้งหลายเที่ยวไปบน |
บก และเที่ยวไปในน้ำ แม้สัตว์เหล่านั้นจะอยู่ในที่ไม่ใช่บก ไม่ใช่น้ำ |
ก็เรียกว่า เที่ยวไปบนบก เที่ยวไปในน้ำ ฉะนั้น. อีกอย่างหนึ่ง |
ชื่อว่า รูปาวจร เพราะยังปฏิสนธิให้เที่ยวไปในรูปคือรูปภพ. |
|