๖๒๘    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๖๒๙
          บทว่า  หีโน - เลว  ได้แก่  ลามก.  ภพในท่ามกลางของสมาธิ
เลวและสมาธิสูง    ชื่อว่า  มชฺโฌ - มัชฌะ -  ปาฐะว่า  มชฺฌิโม - มัช-
ฌิมะบ้าง.      ความอย่างเดียวกัน,      สมาธิถึงความเป็นประธาน ชื่อว่า
ปณีโต - ประณีต ความว่าสูงที่สุด.  พึงทราบสมาธิเหล่านั้นด้วยการ
ประกอบไว้.  ในขณะประกอบ  ฉันทะ  วีริยะ  จิตตะหรือวิมังสา  ของ
สมาธิใดเลว,    สมาธินั้นชื่อว่า หีนะ. ธรรมเหล่านั้นของสมาธิใดปาน
กลาง,    สมาธินั้นชื่อว่า มัชฌิมะ.  ของสมาธิใดประณีต  สมาธินั้น
ชื่อว่า   ปณีตะ,   หรือสมาธิสักว่าให้เกิดขึ้นก็ชื่อว่า  หีนะ,    เจริญไม่
ค่อยดีนัก   ชื่อว่า  มัชฌิมะ,     เจริญอย่างดียิ่งถึงความชำนาญ    ชื่อว่า
ปณีตะ.       อรูปาวจรสมาธิพึงทราบทำนองเดียวกับนัยดังกล่าวแล้วใน
รูปาวจรสมาธิ.
        พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า  สุญฺโต สมาธิ  ดังต่อไปนี้
เมื่อการออกจากมรรคเกิดแล้ว    ด้วยอนัตตานุปัสนาของพระโยคาวจรผู้
เห็นตามลำดับแห่งวิปัสสนาว่า    สพฺเพ    สงฺขารา    อนิจฺจา    ทุกฺขา
อนตฺตา -  สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา   เพราะ
วิปัสสนานั้นเป็นไปแล้ว   โดยความเป็นของสูญในสังขารทั้งหลายที่ไม่มี
ตัวตน,     ฉะนั้นจึงชื่อว่า  สุญตา.  อริยมรรคสมาธิ     สำเร็จดัวย
สุญญตานั้น  ชื่อว่า สุญญตสมาธิ,  อธิบายว่า สมาธิที่เป็นไปแล้ว
ด้วยอำนาจแห่ง   สุญญตะ.    จริงอยู่   สมาธินั้นย่อมเป็นไปโดยอาการ
ที่วิปัสสนาเป็นไปแล้ว.
            เมื่อการออกจากมรรคเกิดแล้วด้วย   อนิจจานุปัสนา    เพราะ
วิปัสสนานั้นเป็นไปแล้วด้วยเป็นปฏิปักษ์ต่อนิมิตว่าเที่ยง,  ฉะนั้นจึงชื่อว่า
อนิมิตตวิปัสสนา.  อริยมรรคสมาธิ  สำเร็จด้วยวิปัสสนานั้น จึงชื่อว่า
อนิมิตตสมาธิ.   อธิบายว่า   สมาธิที่เว้นจากนิมิตที่เที่ยง.  จริงอยู่ สมาธิ
นั้นย่อมเป็นไปด้วยอาการอันเป็นไปแล้วแห่งวิปัสสนา เมื่อการออกจาก
มรรค   เกิดแล้วด้วย   ทุกขานุปัสนา     เพราะ วิปัสสนา  นั้นเป็นไป
แล้วด้วยเป็นปฏิปักษ์ต่อความตั้งใจปรารถนา,  ฉะนั้นจึงชื่อว่า  อัปปณิ-
หิตสมาธิ,     อธิบายว่า    สมาธิที่เว้นจากความตั้งใจปรารถนา.  เพราะ
สมาธินั้นย่อมเป็นไปด้วยอาการเป็นไปแล้วด้วยวิปัสสนา.     พึงทราบว่า
แม้ผลสมาธิ  ๓ ก็เป็นเช่นนั้น เป็นอันท่านถือเอาด้วยสมาธิ ๓ เหล่านั้น.
แต่ท่านไม่ยกประเภทของสมาธิ มีสมาธิเลวเป็นต้น เพราะโลกุตรสมาธิ
เป็นสมาธิประณีต.
         ในหมวด  ๑๐ พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า   อุทฺธุมาตกสญฺ-
าวเสน   ด้วยสามารถความสำคัญศพที่อืด  ชื่อว่า  อุทฺธุมาตํ
เพราะขึ้นอืดด้วยความพองขึ้นพองขึ้นตามลำดับในเบื้องบน  ด้วยลมดุจ
เครื่องสูบลม   เพราะหมดชีวิต   การขึ้นอืดนั่นแล  ชื่อว่า   อุทฺธุมาตกํ.