๖๓๒    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๖๓๓
สามารถอัปปนากำหนดเอาอาการที่น่าเกลียด ชื่อว่า อุทธุมาตกสัญญา,
ด้วยสามารถแห่ง  อุทธุมาตกสัญญา นั้น    ชื่อว่า  อุทธุมาตกสัญญา-
วสะ.    แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้แล.   บทว่า  ปญฺจปฺาส สมาธี
สมาธิ ๕๕ ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งธรรมหมวดหนึ่งเป็นต้น.
           ๙๓]    พระสารีบุตรครั้นแสดงถึงประเภทของสมาธิด้วยสามารถ
หมวดหนึ่งเป็นต้นอย่างนี้แล้ว    บัดนี้ประสงค์จะแสดงสมาธิโดยปริยาย
แม้อื่นจึงแสดงปรารภปริยายอื่น  อปิจ      ดังนี้แล้วกล่าวบทมีอาทิว่า
ปญฺจวีสติ - ๒๕.  ในบทเหล่านั้นบทว่า สมาธิสฺส สมาธิฏฺ€า คือ
สภาพในความเป็นสมาธิแห่งสมาธิ,       สมาธินั้นย่อมมีได้โดยสภาพใด,
สภาพเหล่านั้น  ชื่อว่าเป็นประโยชน์ในสมาธินั้น.
         บทว่า  ปริคหฏเ€น สมาธิ คือ   เพราะสมาธิอันอินทรีย์มี
สัทธินทรีย์ เป็นต้น กำหนดถือเอา ฉะนั้น  ชื่อว่า สมาธิ โดยสภาพ
อัน  สัทธินทรีย์  เป็นต้น  กำหนดถือเอา.   อนึ่ง  อินทรีย์เหล่านั้น
นั่นแล   ย่อมเป็นบริวารของกันและกัน,    และย่อมเป็นอินทรีย์บริบูรณ์
ด้วยการบำเพ็ญภาวนา.      เพราะฉะนั้น   ชื่อว่าสมาธิ     เพราะอรรถว่า
อินทรีย์เป็นบริวารของกันและกัน  เพราะอรรถว่า  สัทธินทรีย์เป็นต้น
บริบูรณ์.   เพราะอรรถว่ามีอารมณ์เป็นอันเดียว  เพราะเพ่งอารมณ์เดียว
ด้วยอำนาจสมาธิแห่งอินทรีย์เหล่านั้น,        เพราะอรรถว่า   ไม่ฟุ้งซ่าน
เพราะเพ่งความไม่มีความฟุ้งซ่านในอารมณ์ต่าง ๆ,    พึงทราบว่า  ท่านไม่
ถืออรรถว่ากำหนดถือเอาความเที่ยง    และอรรถว่าไม่แส่ไปไว้ในที่นี้ใน
ภายหลัง   เพราะควรบรรลุด้วยการกำหนดถือวีริยพละใหญ่แห่งโลกุตระ
นั่นเอง       และเพราะไม่มีความแส่ไปด้วยความเสื่อมแห่งโลกุตรมรรค.
ชื่อว่าสมาธิ เพราะอรรถว่า  ไม่ขุ่นมัวโดยไม่มีกิเลสเกิดขึ้น.  ชื่อว่าสมาธิ
เพราะอรรถว่า  ไม่หวั่นไหว    เพราะความไม่หวั่นไหว,     ชื่อว่าสมาธิ
เพราะอรรถว่า     หลุดพ้นจากกิเลส    เพราะพ้นจากกิเลสด้วยการข่มไว้
หรือด้วยการตัดเด็ดขาด     และเพราะน้อมไปในอารมณ์.
         บทว่า  เอกตฺตุปฏฺ€านวเสน  จิตฺตสฺส  €ิตตฺตา  เพราะความ
ที่จิตตั้งอยู่ด้วยสามารถความตั้งมั่นในความเป็นจิตมีอารมณ์เดียว   ความ
ว่า  เพราะความที่จิตตั้งมั่นโดยไม่หวั่นไหวในอารมณ์แห่งจิต   ด้วยสามารถ
การตั้งมั่นอย่างหนักในอารมณ์เดียว      ด้วยการประกอบสมาธินั่นเอง.
พึงทราบว่า   ในคู่ ๘   ท่านกล่าวถึงคู่     เหล่านี้   คือ  ย่อมแสวงหา
ย่อมไม่แสวงหา คู่ที่  ๑,  ย่อมถือเอา  ย่อมไม่ถือเอา  คู่ที่  ๒  ย่อมปฏิบัติ
ย่อมไม่ปฏิบัติคู่ที่  ๓    ด้วยความไม่เหลือแห่งจิตที่น้อมไปในท่ามกลาง
ความอ่อนแห่งอุปจาระในส่วนเบื้องต้นจากวิถีแห่งอัปปนา,     พึงทราบ
บทนี้ว่า  ฌายติ  ฌาเปติ - ย่อมเพ่ง  ย่อมเผา    ด้วยสามารถอุปจาระ
ในวิถีแห่งอัปปนา.   พึงทราบว่า  ท่านกล่าวถึงคู่  ๔  เหล่านี้  คือ  เพราะ
แสวงหา  เพราะไม่แสวงหา  คู่ที่  ๑,  เพราะยึดมั่น  เพราะไม่ยึดมั่น