คู่ที่ ๒, เพราะปฏิบัติแล้ว เพราะไม่ปฏิบัติแล้ว คู่ที่ ๓, เพราะเผาแล้ว |
เพราะไม่เผาแล้ว คู่ที่ ๔ ด้วยสามารถแห่งอัปปนา. |
ในบทเหล่านั้นบทว่า สมํ ในบทมีอาทิว่า สมํ เอสตีติ สมาธิิ |
ได้แก่ อัปปนา. จริงอยู่ อัปปนานั้น ชื่อว่า สมา เพราะสงบ คือ |
ยังธรรมเป็นข้าศึกให้ฉิบหายไป, อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สมา เพราะ |
เกิดจากความไม่มีความไม่สงบอันเป็นข้าศึก. สมาธิย่อมแสวงหาความ |
สงบนั้น คือ ย่อมแสวงหาด้วยอัธยาศัย. อิติ ศัพท์ เป็น การณัตถะ |
แปลว่า เพราะเหตุนั้น, อธิบายว่า เพราะแสวงหาความสงบ ฉะนั้น |
จึงชื่อว่า สมาธิ. บทว่า วิสมํ เนสติ ความว่า ไม่แสวงหาความ |
ไม่สงบ อันเป็นข้าศึกของฌานนั้นๆ. |
| |
จริงอยู่ สมาธิอันเป็นส่วนเบื้องต้นเป็นสมาธิก่อน ชื่อว่าย่อม |
แสวงหาความสงบ, ไม่แสวงหาความไม่สงบ เพราะเป็นสมาธิต้น. |
สมาธิเป็นกลาง ชื่อว่าย่อมถือเอาความสงบ, ไม่ถือเอาความไม่สงบ |
เพราะเป็นสมาธิมั่นคง. |
สมาธิมีประมาณยิ่ง ชื่อว่าย่อมปฏิบัติความสงบ, ไม่ปฏิบัติความ |
ไม่สงบ เพราะเป็นสมาธิใกล้วิถีแห่งอัปปนา. |
บทว่า สมํ ฌายติ เป็นภาวนปุงสกะ ความว่า เป็นความสงบ |
จึงเพ่ง, หรือ เพ่งด้วยอาการสงบ, จริงอยู่ สมาธิในวิถีแห่งอัปปนา |