๖๓๖    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๖๓๗
         ก็บทนี้ว่า  สโม  จ  หิโต  จ   สุโข  จา  สมาธิ    ชื่อว่าสมาธิ
เพราะเป็นธรรมสงบ   เป็นสภาพเกื้อกูล     และเป็นความสุข      ท่าน
กล่าวเพื่อให้สำเร็จประโยชน์แห่งสมาธิอันสำเร็จแล้วด้วยอาการ  ๒๕.
         ในบทเหล่านั้น  บทว่า สโม  มีความแห่ง  สม  ศัพท์,   หรือ  สํ
ศัพท์
          จริงอยู่   สมาธินั้น   ชื่อว่า   สโม    เพราะเว้นจากความไม่สงบ
อันกำเริบที่เป็นข้าศึก.
         บทว่า  หิโต  มีความแห่ง อธิ  ศัพท์.  อธิบายว่าตั้งอยู่ในอารมณ์
คือ  ให้ตั้งอยู่ด้วยทำความไม่หวั่นไหว.    ท่านอธิบายว่า    ด้วยบททั้ง ๒
ชื่อว่าสมาธิ   เพราะสงบและตั้งมั่น.
          บทว่า   สุโข   ชื่อว่า   สุโข   เพราะอรรถว่า   สงบ.    แม้สมาธิ
สหรคตด้วยอุเบกขา   ท่านก็ถือเอาด้วย  สุข  ศัพท์. มีอรรถว่าสงบเพราะ
ท่านกล่าวไว้ว่า    ข้าแต่ท่านผู้เจริญอทุกขมสุขเวทนา   พระผู้มีพระภาค-
เจ้าตรัสไว้ในความสงบ   คือ  ในความสุขอันประณีต   และอุเบกขาท่าน
กล่าวว่าเป็นความสุขเพราะสงบ.    ท่านกล่าวสมาธิทั้งหมดไว้ในที่นี้โดย
ไม่มีกำหนด.  จึงเป็นอันท่านกล่าวเหตุของความตั้งมั่นด้วย สุข ศัพท์
๑. ม. มู. ๑๓/๙๘
นั้น.   พึงทราบคำอธิบายว่า  เพราะสมาธิเป็นความสงบ,   ฉะนั้น สมาธิ
จึงตั้งมั่นในอารมณ์เดียว  ด้วยประการฉะนี้.
                       จบ   อรรถกถาสมาธิภาวนามยญาณนิทเทส
ธรรมฐิติญาณนิทเทส
           [๙๔]   ปัญญาในการกำหนดปัจจัย  เป็นธรรมฐิติญาณอย่างไร ?
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า   อวิชชาเป็นเหตุเกิด เป็นเหตุให้เป็น
ไป   เป็นเหตุเครื่องหมาย  เป็นเหตุประมวลมา  เป็นเหตุประกอบ
ไว้   เป็นเหตุพัวพัน   เป็นเหตุให้เกิด   เป็นเหตุเดิม    และเป็น
เหตุอาศัยเป็นไปแห่งสังขาร  ด้วยอาการ ๙ อย่าง อวิชชาจึงเป็นปัจจัย
สังขารเกิดขึ้นแห่งปัจจัย   แม้ธรรมทั้งสองนี้   ต่างก็เกิดขึ้นแต่ปัจจัย  ดังนี้
เป็นธรรมฐิติญาณ.
         ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า  ในอดีตกาลก็ดี   ในอนาคตกาล
ก็ดี    อวิชชาเป็นเหตุเกิด . . . และเป็นเหตุอาศัยเป็นไปแห่งสังขารด้วย
อาการ ๙ อย่างนี้       อวิชชาจึงเป็นปัจจัย   สังขารเกิดขึ้นแต่ปัจจัย   แม้
ธรรมทั้งสองนี้    ต่างก็เกิดขึ้นแต่ปัจจัย  ดังนี้   เป็นธรรมฐิติญาณ.
          ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า   สังขารเป็นเหตุเกิด. . . และเป็น
เหตุอาศัย   เป็นไปแห่งวิญญาณ    ฯลฯ   วิญญาณเป็นเหตุเกิด . . . และ