๖๔๐    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๖๔๑
          ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า  สังขารอาศัยปัจจัยเป็นไป   วิญญาณ
อาศัยสังขารเกิดขึ้น  วิญญาณอาศัยปัจจัยเป็นไป  นามรูปอาศัยวิญญาณ
เกิดขึ้น    นามรูปอาศัยปัจจัยเป็นไป    สฬายตนะอาศัยนามรูปเกิดขึ้น
สฬายตนะอาศัยปัจจัยเป็นไป    ผัสสะอาศัยสฬายตนะเกิดขึ้น  ผัสสะ
อาศัยปัจจัยเป็นไป   เวทนาอาศัยผัสสะเกิดขึ้น   เวทนาอาศัยปัจจัยเป็น
ไป   ตัณหาอาศัยเวทนาเกิดขึ้น   ตัณหาอาศัยปัจจัยเป็นไป   อุปาทาน
อาศัยตัณหาเกิดขึ้น    อุปาทานอาศัยปัจจัยเป็นไป     ภพอาศัยอุปาทาน
เกิดขึ้น  ภพอาศัยปัจจัยเป็นไป  ชาติอาศัยภพเกิดขึ้น   ชาติอาศัยปัจจัย
เป็นไป   ชราและมรณะอาศัยชาติเกิดขึ้น   แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็อาศัย
ปัจจัยเกิดขึ้น ดังนี้   เป็นธรรมฐิติญาณ.
          ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า   ในอดีตกาลก็ดี   ในอนาคตกาล
ก็ดี    ชาติอาศัยปัจจัยเป็นไป  ชราและมรณะอาศัยชาติเกิดขึ้น   แม้ธรรม
ทั้งสองนี้ต่างก็อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น  ดังนี้  เป็นธรรมฐิติญาณ.
          [๙๗]  ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า  อวิชชาเป็นปัจจัย  สังขาร
เกิดขึ้นเพราะปัจจัย    แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็เกิดขึ้นเพราะปัจจัย    ดังนี้
เป็นธรรมฐิติญาณ.
          ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า   ในอดีตกาลก็ดี    ในอนาคตกาล
ก็ดี  อวิชชาเป็นปัจจัย    สังขารเกิดขึ้นเพราะปัจจัย   แม้ธรรมทั้งสองนี้
ต่างก็เกิดขึ้นเพราะปัจจัย   ดังนี้   เป็นธรรมฐิติญาณ.
           ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า    สังขารเป็นปัจจัย    วิญญาณเกิด
ขึ้นเพราะปัจจัย   วิญญาณเป็นปัจจัย   นามรูปเกิดขึ้นเพราะปัจจัย   นาม
รูปเป็นปัจจัย  สฬายตนะเกิดขึ้นเพราะปัจจัย   สฬายตนะเป็นปัจจัย  ผัสสะ
เกิดขึ้นเพราะปัจจัย  ผัสสะเป็นปัจจัย   เวทนาเกิดขึ้นเพราะปัจจัย  เวทนา
เป็นปัจจัย   ตัณหาเกิดขึ้นเพราะปัจจัย     ตัณหาเป็นปัจจัย     อุปาทาน
เกิดขึ้นเพราะปัจจัย   อุปาทานเป็นปัจจัย    ภพเกิดขึ้นเพราะปัจจัย  ภพ
เป็นปัจจัย     ชาติเกิดขึ้นเพราะปัจจัย    ชาติเป็นปัจจัย    ชราและมรณะ
เกิดขึ้นเพราะปัจจัย    แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็เกิดขึ้นเพราะปัจจัย    ดังนี้
เป็นธรรมฐิติญาณ.
           ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า   ในอดีตกาลก็ดี   ในอนาคตกาล
ก็ดี   ชาติเป็นปัจจัย   ชราและมรณะเกิดขึ้นเพราะปัจจัย   แม้ธรรมทั้งสองนี้
ต่างก็เกิดขึ้นเพราะปัจจัย   ดังนี้    เป็นธรรมฐิติญาณ.
           [๙๘] ในกรรมภพก่อน     ความหลงเป็นอวิชชา     กรรมที่
ประมวลมาเป็นสังขาร  ความพอใจเป็นตัณหา  ความเข้าถึงเป็นอุปาทาน
ความคิดอ่านเป็นภพ   ธรรม ๕  ประการในกรรมภพก่อน  เหล่านี้   เป็น
ปัจจัยแห่งปฏิสนธิในอุปปัตติภพนี้   ปฏิสนธิเป็นวิญญาณ   ความกังวล
เป็นนามรูป  ประสาท  คือ ภาวะที่ผ่องใส  เป็นอายตนะ  ส่วนที่ถูก
ต้องเป็นผัสสะ  ความเสวยอารมณ์เป็นเวทนาในอุปปัตติภพนี้  ธรรม
๕  ประการในอุปปัตติภพเหล่านี้  เป็นปัจจัยแห่งกรรมที่ทำไว้ในปุเรภพ