๖๔๒    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๖๔๓
ความหลงเป็นอวิชชา   กรรมที่ประมวลมาเป็นสังขาร   ความพอใจเป็น
ตัณหา    ความเข้าถึงเป็นอุปาทาน    ความคิดอ่านเป็นภพ    (ย่อมมี)
เพราะอายตนะทั้งหลาย  ในภพนี้แก่รอบ  ธรรม ๕ ประการในกรรมภพ
นี้เหล่านี้     เป็นปัจจัยแห่งปฏิสนธิในอนาคต   ปฏิสนธิในอนาคตเป็น
วิญญาณ   ความก้าวลงเป็นนามรูป   ประสาทเป็นอายตนะ    ส่วนที่ถูก
ต้องเป็นผัสสะ    ความเสวยอารมณ์เป็นเวทนา    ธรรม ๕  ประการใน
อุปปัตติภพในอนาคตเหล่านี้  เป็นปัจจัยแห่งกรรมที่ทำไว้ในภพนี้  พระ-
โยคาวจร    ย่อมรู้    ย่อมเห็น    ย่อมทราบชัด    ย่อมแทงตลอด    ซึ่ง
ปฏิจจสมุปบาท  มีสังเขป ๔ กาล ๓ ปฏิสนธิ ๓ เหล่านี้  ด้วยอาการ  ๒๐
ด้วยประการดังนี้.
           ชื่อว่าญาณ  เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น    ชื่อว่าปัญญา    เพราะ
อรรถว่ารู้ชัด  เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า   ปัญญาในการกำหนดปัจจัย
เป็นธรรมฐิติญาณ.
อรรถกถาธรรมฐิติญาณนิทเทส
           ๙๔]   พึงทราบวินิจฉัยในธรรมฐิติญาณนิทเทสดังต่อไปนี้   ใน
บทมีอาทิว่า   อวิชฺชา  สงฺขารานํ  อุปฺปาทฏฺ€ิติ - ต่อวิชชาเป็นเหตุเกิด
แห่งสังขารทั้งหลาย   มีอธิบายดังนี้    ชื่อว่า  €ิติ  เพราะอรรถว่าอวิชชา
เป็นเหตุตั้งสังขาร.   €ิติ   นั้น   คืออะไร  ?  คือ   อวิชชา.    เพราะว่า
อวิชชานั้นเป็นที่ตั้ง   คือเป็นเหตุแห่งการเกิดสังขารทั้งหลาย  เพราะเหตุ
นั้นจึงชื่อว่า  อุปฺปาทฏฺ€ิติ - เป็นเหตุเกิด.
           ชื่อว่า    ปวตฺตฏฺ€ิติ - เป็นเหตุให้เป็นไป    เพราะอรรถว่าเป็น
เหตุแห่งความเป็นไปแห่งสังขารทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว.   อธิบายว่า  จริง
อยู่    อานุภาพของกิจย่อมมีในขณะชนกปัจจัยเกิดนั่นเองโดยแท้,    แต่
เพราะความเป็นไปแห่งสังขารทั้งหลายอันชนกปัจจัยนั้นให้เกิด     จึงชื่อ
ว่าเป็นเหตุ   แม้แห่งความเป็นไปในขณะของตน,   อีกอย่างหนึ่ง   เป็น
เหตุแห่งความเป็นไปด้วยอำนาจสันตติ.
           อนึ่ง   บทว่า    ปวตฺตํ  นี้   เป็นภาววจนะลงในนปุงสกลิงค์,
เพราะฉะนั้น   ปวตฺตํ  จึงเป็นอันเดียวกัน  โดยอรรถว่า  ปวตติ - ความ
เป็นไป.    แต่เพราะปวัตติศัพท์ปรากฏแล้ว   ท่านจึงอธิบายประกอบด้วย
บทว่า  ปวตฺตํ   นั้น.  €ิติ  ศัพท์ ในความเป็นไม่มีในที่นี้   เพราะ  €ิติ
ศัพท์   แม้ในภาวะก็สำเร็จได้.
             เพื่อแสดงว่า  €ิติ   ศัพท์   เป็นไปในความว่า    เหตุ    ท่านจึง
กล่าวว่า  นิมิตฺตฏฺ€ิติ   อธิบายว่า  €ิติ  เป็นเครื่องหมายคือเป็นเหตุ. ไม่ใช่
เพียงเป็นเครื่องหมายอย่างเดียว   ที่แท้พระสารีบุตรเมื่อจะแสดงความเป็น
ผู้สามารถในปัจจัยว่า   ย่อมประมวลมา    ย่อมพยายาม  เป็นดุจมีความ
ขวนขวายในการให้เกิดสังขาร    จึงกล่าวว่า   อายูหนฏฺ€ิติ      อธิบายว่า
€ิติ  เป็นเหตุประมวลมา.  เพราะอวิชชาให้สังขารเกิดขึ้น  ชื่อว่า ประกอบ