ในความเกิด, อธิบายว่า พยายาม, อวิชชาให้สังขารเป็นไป ชื่อว่า |
พัวพันในความเป็นไป. อธิบายว่า ผูกพัน ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า |
สญฺโคฏฺิติ - เป็นเหตุประกอบไว้ ปลิโพธฏฺิต - เป็นเหตุพัวพัน |
อธิบายว่า เป็นเหตุประกอบ เป็นเหตุกังวล. |
เพราะอวิชชาให้สังขารเกิด ชื่อว่า สมุทัย เพราะอรรถว่า |
เป็นมูลเหตุแห่งความเกิดและความเป็นไป, ชื่อว่า สมุทยิติ เพราะ |
เป็นเหตุให้เกิด อธิบายว่า เป็นมูลเหตุ. อวิชชาแลท่านกล่าวว่า |
เหตฏฺิติ - เป็นเหตุเดิม, ปจฺจยฏฺิติ - เป็นเหตุอาศัยเป็นไป เพราะเป็น |
เหตุเกิดในความเกิดของสังขาร, เพราะเป็นปัจจัยอุปถัมภ์ในความเป็น |
ไป อธิบายว่า ิติ เป็นเหตุเดิม, ิติ เป็นเหตุอาศัยเป็นไป ท่านกล่าว |
ชนกปัจจัยเป็นเหตุ, อุปถัมภกปัจจัยเป็นเครื่องอาศัย. แม้ในบทที่เหลือ |
ก็พึงประกอบอย่างนี้. |
ในบทนี้ว่า ภโว ชาติยา ชาติ ชรามรณสฺส - ภพเป็นปัจจัย |
แก่ชาติ. ชาติเป็นปัจจัยแก่ชรามรณะ ท่านกล่าวถึงบทที่ประกอบด้วย |
สามารถความเกิดว่า อุปฺปาทฏฺิติ สญฺโคฏฺิติ เหตฏฺิติ โดย |
ปริยาย ด้วยอำนาจแห่งขันธ์ทั้งหลายมีชาติชราและมรณะ.. แต่อาจารย์ |
บางพวกพรรณนาความในบทนี้ โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า อุปฺปาทาย ิติ |
อุปฺปาทฏฺิติ - เหตุแห่งความเกิด ชื่อว่า อุปปาทัฏิติ - เป็นเหตุเกิด. |
บทว่า อวิชฺชา ปจฺจโย - อวิชชาเป็นปัจจัย ท่านกล่าวเพ่งความที่ |
อวิชชาเป็นปัจจัยแห่งสังขารทั้งหลาย. |