๖๔๖    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๖๔๗
          พึงทราบวินิจฉัยในปฏิจจวาระดังต่อไปนี้    บทว่า     อวิชชา
ปฏิจฺจฺ - อวิชชาอาศัยปัจจัยเป็นไป  ความว่า  อวิชชา   ชื่อว่า  ปฏิจฺจา
เพราะต้องถึงต้องไปเฉพาะหน้าด้วยสังขารทั้งหลาย     เพราะเพ่งอวิชชา
เป็นเหตุของสังขารทั้งหลายในความเกิดของตน.   ด้วยบทนี้เป็นอันท่าน
กล่าวถึงความที่  อวิชชาสามารถให้สังขารเกิด.
           บทว่า    สงฺขารา    ปฏิจฺจสมุปฺปนฺนา - สังขารทั้งหลายอาศัย
อวิชชาเกิดขึ้น  ความว่า สังขารทั้งหลายมิได้เกิดขึ้นเสมอโดยมิได้อาศัย
อะไร    เพราะต้องอาศัยอวิชชาแล้ว    จึงเกิดขึ้นเป็นไปอยู่.    แม่ในบท
ที่เหลือก็พึงประกอบโดยสมควรแก่ลิงค์อย่างนี้.     อีกอย่างหนึ่งปาฐะว่า
อวิชฺช   ปฏิจฺจ -  อวิชชาอาศัยปัจจัยเป็นไป  ด้วยสามารถความขวนขวาย
แต่ความในบทนี้     พึงประกอบด้วยปาฐะที่เหลือว่า    อวิชชาอาศัยปัจจัย
ของตนเป็นไป.     แม้ในบทที่เหลือก็อย่างนั้น.     ในวาระแม้ ๔ อย่าง
เหล่านี้   ท่านชี้แจงธรรมฐิติญาณด้วยสามารถแห่งองค์ ๑๑  มีอวิชชา
เป็นต้น     เพราะธรรมฐิติญาณควรชี้แจง    ด้วยสามารถปัจจัยแห่งองค์
ปฏิจจสมุปบาท ๑๒.  แต่ท่านไม่ชี้แจงด้วยสามารถชรามรณะนั้น  เพราะ
ชรามรณะตั้งอยู่ในที่สุด.  ธรรมฐิติญาณด้วยสามารถชรามรณะนั้น   ทำ
ชรามรณะให้เป็นปัจจัยแห่งองค์ปฏิจจสมุปบาทเหล่านั้น    แล้วพิจารณา
ควรทีเดียว  เพราะแท้ชราและมรณะก็เป็นปัจจัยแห่งโสกะ ปริเทวะ  ทุกข์
โทมนัสและอุปายาส.
          ๙๘]  บัดนี้  พระสารีบุตรประสงค์จะจำแนกองค์ปฏิจจสมุปบาท
๑๒  เหล่านั้น    จึงแสดงสังเขป ๔ กาล  ๓  สนธิ ๓  ด้วยอาการ  ๒๐
แล้วจึงชี้แจงธรรมฐิติญาณ   กล่าวบทมีอาทิว่า   ปุริมกมฺมภวสฺมึ - ใน
กรรมภพก่อน  ดังนี้.
         ในบทเหล่านั้น  บทว่า  ปุริมกมฺมภวสฺมึ  ได้แก่  ในกรรมภพ
ก่อน,  อธิบายว่า  เมื่อทำกรรมภพในอดีตชาติ.
         บทว่า  โมโห  อวิชฺชา - โมหะเป็นอวิชชา  ความว่า  หลงด้วย
โมหะในทุกข์เป็นต้นแล้วทำกรรม,  นั้นคือ  อวิชชา.
         บทว่า   อายูหนา     สงฺขารา - กรรมที่ประมวลมาเป็นสังขาร
ความว่า    เจตนาก่อนของผู้ทำกรรมนั้น,  เจตนาก่อนเกิดขึ้นแก่ผู้คิดว่า
เราจักให้ทานดังนี้    แล้วสละอุปกรณ์การให้เดือนหนึ่งบ้าง   ปีหนึ่งบ้าง.
         เจตนา   ท่านกล่าวว่า   ภพ    เพราะวางทักษิณาไว้บนมือของ
ปฏิคคาหก.  เจตนาในอาวัชชนะ  ๑ หรือในชวนะ ๖  ชื่อว่า   กรรมที่
ประมวลมาเป็นสังขาร.   เจตนาในชวนะที่  ๗   เป็นภพ.   อนึ่ง   เจตนา
อย่างใดอย่างหนึ่งก็เป็นภพ.   ชื่อว่า  การประมวลมาเป็นสังขาร   เพราะ
สัมปยุตด้วยเจตนานั้น.
          บทว่า  นีกนฺติ  ตณฺหา - ความใคร่เป็นตัณหา  ความว่า  ความ
ใคร่  ความปรารถนาในอุบัติภพอันเป็นผลของผู้ทำกรรม  ชื่อว่า  ตัณหา.