บทว่า ปสาโท อายตนํ - ประสาทคือความผ่องใส เป็น |
อายตนะ ได้แก่ ความที่รูปผ่องใส นี้เป็นอายตนะ. ท่านทำเป็น |
เอกวจนะโดยถือเอาชาติ. ด้วยบทนี้ ท่านกล่าวถึงอายตนะ ๕ มีจักขุ |
เป็นต้น. พึงทราบว่า แม้มนายตนะเท่านี้ก็กล่าวด้วยคำว่า ปสาทะ |
เพราะมนายตนะเป็นวิบากในที่นี้โดยพระบาลีว่า ปภสฺสรมิทํ ภิกฺขเว |
จิตฺตํ, ตญฺจ โข อาคนฺคุเกหิ อุปกิเลเสหิ อุปกฺกิลิฏฺํ๑ - ดูก่อน |
ภิกษุทั้งหลายจิตนี้ประภัสสร, ก็จิตนั้นแลเศร้าหมองด้วยอุปกิเลส |
ที่จรมา ดังนี้ ในพระบาลีนี้ ท่านประสงค์เอาภวังคจิต, และเพราะจิตนั้น |
ผ่องใสด้วยความไม่มีสิ่งปฏิกูลด้วยกิเลส, |
บทว่า ผุฏฺโฐ ผสฺโส - ส่วนที่ถูกต้องเป็นผัสสะ ได้แก่ ส่วน |
ที่ถูกต้องกระทบ เกิดอารมณ์ นี้ชื่อว่า ผัสสะ. |
บทว่า เวทยิตํ เวทนา - การเสวยอารมณ์เป็นเวทนา ได้แก่ |
การเสวยวิบากเกิดร่วมกับผัสสะ ด้วยปฏิสนธิวิญญาณก็ดี ด้วยสฬายตนะ |
เป็นปัจจัยก็ดี นี้ชื่อว่า เวทนา. |
บทว่า อิธุปปตฺติภวสฺมึ ปุเรกตสฺส กมฺมสฺส ปจฺจยา - ธรรม |
๕ ประการในกรรมภพก่อน เป็นปัจจัยแก่ปฏิสนธิในอุปปัตติภพนี้ |
ความว่า ธรรมทั้งหลายย่อมเป็นไปด้วยปัจจัยแห่งกรรมที่ทำไว้ในอดีต |
ชาติ อันเป็นวิบากภพในปัจจุบัน. |
|