บทว่า อิธ ปริปกฺกตฺตา อายตนานํ - เพราะอายตนะทั้งหลาย |
ในภพนี้แก่รอบ ท่านแสดงโมหะเป็นต้นในการทำกรรมของผู้มีอายตนะ |
แก่รอบ. |
บทว่า อายตึ ปฏิสนฺธิยา คือเป็นปัจจัยแก่ปฏิสนธิในอนาคต. |
บทมีอาทิว่า อายตึ ปฏิสนฺธิ วิญฺณาณํ - ปฏิสนธิในอนาคตเป็น |
วิญญาณ มีอรรถดังได้กล่าวแล้ว. ท่านถือเอาอาการ ๒๐ เหล่านี้ ด้วย |
องค์แห่งปฏิจจสมุปบาท ๑๒ เป็นอย่างไร ? ท่านกล่าวธรรมทั้ง ๒ |
เหล่านี้ โดยสรุปว่า อวิชฺชา สงฺขารา ดังนี้ ว่าเป็นเหตุในอดีต. |
ก็เพราะไม่รู้แจ้ง จึงสะดุ้ง, สะดุ้งแล้วย่อมถือมั่น, เพราะการถือมั่น |
ของบุคคลนั้นเป็นปัจจัย จึงมีภพ, ฉะนั้น จึงเป็นอันท่านถือเอาแม่ |
ตัณหาอุปาทานและภพ ด้วยการถือเอาธรรมทั้งสอง คือ อวิชชาและ |
สังขารเหล่านั้นด้วย. ท่านกล่าวถึงวิญญาณ นามรูป สฬายตนะ |
ผัสสะและเวทนา ในปัจจุบันโดยสรุป. ท่านกล่าวตัณหา อุปาทานและ |
ภพ ว่าเป็นเหตุในปัจจุบัน โดยสรุป ก็เมื่อถือเอาภพแล้วก็เป็นอัน |
ถือเอาสังขารทั้งหลาย อันเป็นส่วนเบื้องต้นของภพนั้นหรือสัมปยุตด้วย |
ภพนั้น. อนึ่ง สังขารทั้งหลายสัมปยุตด้วยภพนั้น ด้วยการถือตัณหา |
และอุปาทาน. อีกอย่างหนึ่ง ท่านถือเอา ตัณหา ที่คนลุ่มหลงทำ |
กรรมว่า เป็น อวิชชา. ท่านกล่าวธรรมทั้ง ๒ ว่า ชาติชรามรณะ |
ในอนาคตโดยสรุป, ก็ด้วยการถือเอาชาติชรามรณะนั่นแล จึงเป็นอัน |
ท่านถือผลในอนาคต ๕ มีวิญญาณเป็นต้นนั่นเอง. เป็นอันท่านถือเอา |