บทว่า ติสนฺธึ - สนธิ ๓ ชื่อว่า ติสันธิ เพราะอรรถว่ามี |
ปฏิสนธิ ๓, ซึ่งปฏิสนธิ ๓ นั้น อธิบายว่า เหตุผลสนธิ อย่างหนึ่ง |
มีในระหว่างแห่ง เหตุอดีต และ ผลปัจจุบัน, ผลเทตุสนธิ อย่าง |
หนึ่งมีในระหว่างแห่ง ผลปัจจุบัน และ เหตุอนาคต, เหตุผลสนธิ |
อย่างหนึ่งมีในระหว่างแห่ง เหตุปัจจุบัน และ ผลอนาคต. |
แต่ด้วยสามารถมาแล้วโดยสรุปใน ปฏิจฺจสมุปฺปาทปาลิ มีดัง |
นี้ อวิชชา สังขารา เป็นสังเขปที่ ๑. วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ |
ผัสส และ เวทนา เป็นสังเขปที่ ๒ ตัณหา อุปาทาน ภพ เป็นสังเขป |
ที่ ๓, ชาติ ชรามรณะ เป็นสังเขปที่ ๔. องค์ ๒ คือ อวิชชา และ สังขาร |
เป็น อดีตกาล, ธรรม ๘ มี วิญญาณ เป็นต้น มีภพเป็นที่สุด เป็น |
ปัจจุบันกาล, องค์ ๒ คือ ชาติ และ ชรามรณะ เป็น อนาคตกาล, |
เหตุผลสนธิ อย่างหนึ่งมีในระหว่างแห่ง สังขาร และ วิญญาณ, ผล |
เหตุสนธิ อย่างหนึ่งมีในระหว่างแห่งเวทนาและตัณหา, เหตุผลสนธิ |
อย่างหนึ่งมีในระหว่างแห่งภพและชาติ. |
บทว่า วีสติยา อากาเรหิ - อาการ ๒๐ ได้แก่ โดยส่วน ๒๐. |
พึงเชื่อมความว่า พระโยคาวจรย่อมรู้ปฏิจจสมุปบาท มีสังเขป ๔ กาล ๓ |
สนธิ ๓ ด้วยอาการ ๒๐ ดังนี้. |