๖๕๔    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๖๕๕
              กตโม  จ  ภิกฺขเว  ปฏิจฺจสมุปฺปาโท,  ฯปฯ  อยํ
              วุจฺจติ  ภิกฺขเว  ปฏิจฺจสมุปปาโท.
                         ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ปฏิจจสมุปบาท เป็น
              ไฉน ?  เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรามรณะ,  พระ-
              ตถาคตทรงอุบัติก็ตาม   ยังไม่ทรงอุบัติก็ตาม   ธาตุ
              นั้นเป็นธรรมฐิติ - ยังตั้งอยู่โดยธรรมดา   เป็นธรรม
              นิยาม -  ความแน่นอนอยู่โดยธรรมดา     เป็นอิทัป-
              ปัจจยตา - ความอาศัยกันเกิดขึ้นยังคงมีอยู่,   พระ-
              ตถาคตตรัสรู้บรรลุธรรมนั้น,  ครั้นตรัสรู้แล้ว  บรรลุ
              แล้ว   ทรงบอก   ทรงแสดง   ทรงบัญญัติ    ทรงตั้ง
              ทรงเปิดเผย   ทรงจำแนก    ทรงทำให้ง่าย   ตรัสว่า
              พวกเธอจงเห็น ดังนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะ
              ชาติเป็นปัจจัยมีชราและมรณะ,    เพราะภพเป็น
              ปัจจัยจึงมีชราและมรณะ,     เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
              จึงมีสังขาร.   พระตถาคตอุบัติก็ตาม   ยังไม่อุบัติ
              ตาม  ฯลฯ  ย่อมทำให้ง่ายตรัสว่า    พวกเธอจง
              เห็นดังนี้.  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็น
              ปัจจัยจึงมีสังขาร. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายด้วยประการ
๑. สํ. นิ. ๑๖/๖๑.
              ฉะนี้แล    ความจริงแท้แน่นอน     ไม่เป็นอย่างอื่น
              ชื่อว่า   ความที่สิ่งนี้เป็นปัจจัยของสิ่งนี้.  ดูก่อน
              ภิกษุทั้งหลายนี้  ชื่อว่า  ปฏิจจสมุปบาท.
              พระผู้มีพระภาคเจ้า     เมื่อทรงแสดงปฏิจจสมุปบาทอย่างนี้    จึง
ตรัสว่า   ธรรมเป็นปัจจัยนั่นแล   ชื่อว่า   ปฏิจจสมุปบาท   โดยไวพจน์
มีคำว่า   ตถาคตความเป็นของจริงแท้เป็นต้น.   เพราะฉะนั้น   ปฏิจจ-
สมุปบาท   จึงมีการเป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายมีชราและมรณะเป็นต้น
เป็นลักษณะ,    มีการผูกพันอยู่กับทุกข์เป็นรส,    มีการเห็นผิดทางเป็นต้น
อาการปรากฏ,   มีปัจจัยพิเศษของตนเป็นปทัฏฐาน  เพราะแม้ตนเองก็มี
ปัจจัย.
              บทว่า   อุปฺปาทา  วา  อนุปฺปาทา  วา  ได้แก่   เมื่ออุบัติก็ตาม
เมื่อไม่อุบัติก็ตาม   อธิบายว่า   เมื่อพระตถาคต    แม้อุบัติแล้ว    แม้ยังไม่
อุบัติแล้ว   ดังนี้.
๑. มีลักขณาทิตจุตกะ ดังนี้.
๑. ชรามรณาทีนํ ปจฺจยลกฺขโณ
๒. ทุกฺขานุพนฺธนรโส
๓. กุมฺมคฺคปจฺจุปฏฺ€าโน
๔. สยมฺปิ สปจฺจยตฺตา อตฺตโน วิเสสปฺปจฺจยปาฏฺ€าโน.