๖๕๖    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๖๕๗
          บทว่า   €ิตา  ว  สา  ธาตุ   ได้แก่   สภาพของปัจจัยนั้นยังตั้งอยู่.
อธิบายว่า   ในกาลไหน ๆ    จะไม่มีปัจจัยของชาติชราและมรณะหามิได้
เลย.
          บทว่า   ธมฺมฏฺ€ิตตา   ธมฺมนิยามตา  อิทปฺปจฺจยตา - มีชาติเป็น
ปัจจัยนั่นเอง.    ธรรมเกิดขึ้นเพราะปัจจัย    กล่าวคือ    ชราและมรณะ
ย่อมตั้งอยู่ได้   เพราะอาศัยธรรมนั้น   เพราะชาติเป็นปัจจัย,    ชาติเป็น
ปัจจัย   ย่อมกำหนดธรรมคือชราและมรณะ,   เพราะฉะนั้น  ชาติ  ท่าน
กล่าวว่า   ธมฺมฏฺ€ิตตา   ธมฺมนิยามตา  ดังนี้.   ชาตินั่นแล  เป็นปัจจัย
ของชราและมรณะนี้    เพราะฉะนั้น   จึงชื่อว่า   อิทปฺปจฺจโย,   อิทปฺ-
ปจฺจโย  นั่นแล  ชื่อว่า  อิทปฺปจฺจยตา.
        บทว่า  ตํ  คือ ปัจจัยนั้น.  บทว่า  อภิสมฺพุชฺฌติ  คือ  ย่อม
ตรัสรู้ด้วยญาณ.  บทว่า   อภิสเมติ    คือ   ย่อมบรรลุด้วยญาณ.   บทว่า
อาจิกฺขติ    คือ  ย่อมกล่าว.   บทว่า   เทเสติ   คือ  ย่อมแสดง.   บทว่า
ปญฺาเปติ   คือ ย่อมให้รู้.   บทว่า  ปฏิ€เปติ   คือ ย่อมตั้งอยู่ในหัวข้อ
คือญาณ.   บทว่า   วิวรติ   คือ  ย่อมทรงเปิดเผยแสดง.    บทว่า   วิภชติ
คือ  ย่อมทรงจำแนก.    บทว่า   อุตฺตานีกโรติ    คือ  ย่อมทำให้ปรากฏ.
บทว่า   อิติ  โข   คือ ด้วยประการฉะนี้แล.   บทว่า   ยา  ตตฺรุ  ได้แก่
ความเป็นของจริงแท้แน่นอนไม่แปรผัน      ในบทมีอาทิว่า   ชาติปจฺจยา
ชรามรณํ.   เพราะชาติเป็นปัจจัย   จึงมีชรามรณะ.
          ปฏิจจสมุปบาทนี้นั้น  ท่านกล่าวว่า  ตถตา - ความจริงแท้  เพราะ
ธรรมนั้น ๆ  เกิดโดยไม่หย่อนไม่ยิ่งด้วยปัจจัยนั้น ๆ, ท่านกล่าว  อวิต-
ถตา - ความแน่นอน  เพราะไม่มี  ความไม่เกิดแห่งธรรมที่เกิดจากธรรม
นั้น    แม้ครู่เดียวในปัจจัยที่เข้าถึงความพร้อมเพรียง,      ท่านกล่าวว่า
อนญฺถตา  - ความไม่เป็นอย่างอื่น     เพราะไม่มีธรรมอื่นเกิดขึ้นด้วย
ปัจจัยแห่งธรรมอื่น,     ท่านกล่าวว่า    อิทปฺปจฺจยตา - ความเป็นปัจจัย
แห่งธรรมนี้      เพราะเป็นปัจจัยแก่ชราและมรณะเป็นต้นเหล่านั้น   หรือ
เพราะเป็นที่รวมปัจจัย.
           ในบทนั้นมีอธิบายดังต่อไปนี้   ปัจจัยแห่งธรรมเหล่านั้น  ชื่อว่า
อิทปฺปจฺจยา,  อิทปฺปจฺจยานั้นแล  ชื่อว่า  อิทปฺปจฺจยตา,  อีกอย่าง
หนึ่ง   การรวม  อิทปฺปจฺจยา   ทั้งหลายชื่อว่า     อิทปฺปจฺจยตา.   แต่
ในที่นี้   พึงทราบลักษณะโดยอรรถแห่งศัพท์.
                             จบ  อรรถกถาธรรมฐิติญาณนิทเทส 
สัมมสนญาณนิทเทส
           [๙๙]  ปัญญาในการย่อธรรมทั้งหลายทั้งอดีต      อนาคตและ
ปัจจุบันแล้วกำหนดไว้  เป็นสัมมสนญาณอย่างไร ?