บทว่า โอฬาริกํ ได้แก่ รูป ๑๒ อย่าง คือ จักขุ โสตะ |
ฆานะ ชิวหา กาย รูป เสียง กลิ่น รสและโผฏฐัพพะ ได้แก่ |
ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ชื่อว่า โอฬาริก เพราะควรถือเอาด้วย |
สามารถการสืบต่อกัน. ส่วนรูปที่เหลือ ๑๖ อย่าง คือ อาโปธาตุ อิตถิน- |
ทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หทยวัตถุ โอชา อากาสธาตุ กายวิญญัตติ |
วจีวิญญัตติ รูปัสสลหุตา มุทุตา กัมมัญญตา อุปจยะ สันตติ ชรดา |
อนิจจตา ชื่อว่า สุขุม เพราะไม่ควรถือเอาด้วยสามารถการสืบต่อ. |
| |
พึงทราบความทรามและความประณีต ในบทนี้ว่า หีนํ วา ปณีตํ |
วา โดยอ้อมหรือโดยตรง. ในบทนั้น รูปของพรหมชั้นสุทัสสี เป็นรูป |
ทรามกว่ารูปของพรหมชั้นอกนิษฏฐ์ รูปพรหมชั้นสุทัสสีนั้นนั่น |
แหละประณีตกว่ารูปของพรหมชั้นสุทัสสา พึงทราบความทรามและ |
ความประณีต โดยปริยายตลอดถึงรูปของสัตว์นรก. รูปที่เป็นอกุศลวิบาก |
เกิดขึ้นเป็นรูปทราม, รูปที่เป็นกุศลวิบากเกิดขึ้นเป็นรูปประณีต. |
| |
พึงทราบความในบทว่า ยํ ทูเร สนฺติเก วา นี้ รูปใด สุขุม |
รูปนั้นแล ชื่อว่า ทูเร เพราะมีสภาวะที่แทงตลอดได้ยาก. รูปใด |
หยาบ รูปนั้นชื่อว่า สนฺติเก เพราะมีสภาวะที่แทงตลอดได้ง่าย. |
พึงทราบความในบทนี้ว่า สพฺพํ รูปํ อนิจฺจโต ววตฺเถติ เอกํ |
สมฺมสนํ, ทุกฺขโต ววตฺเถติ เอกํ สมฺมสนํ, อนตฺตโต ววตฺเถติ |
เอกํ สมฺมสนํ - ภิกษุกำหนดรูปทั้งปวงโดยความเป็นของไม่เที่ยง การ |