๖๖๔    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๖๖๕
กำหนดนี้เป็นสัมมสนญาณอย่างหนึ่ง,    กำหนดโดยความเป็นทุกข์เป็น.
สัมมสนญาณอย่างหนึ่ง,   กำหนดโดยความเป็นอนัตตา  เป็นสัมมสน-
ญาณอย่างหนึ่ง    ความว่า    ภิกษุนี้     กำหนดุรูปแม้ทั้งหมดที่ท่านชี้แจง
ไว้โดยมิได้กำหนดแน่นอนอย่างนี้ว่า   ยงฺกิญฺจิ   รูปํ - รูปอย่างใดอย่าง
หนึ่งโดยการปรากฏ  ๑๑ อย่าง  คือด้วยรูปอตีตติกะ - ติกะในอดีต และ
ด้วยทุกะมีอัชฌัตตะเป็นต้น ๔ แล้วกำหนดรูปทั้งปวงโดยความเป็นของ
ไม่เที่ยงย่อมพิจารณาว่า  อนิจฺจํ  ดังนี้. พิจารณาอย่างไร  ? พิจารณาโดยนัย
ดังกล่าวแล้วข้างหน้า.
           ๑๐๐]   ดังที่พระสารีบุตรได้กล่าวไว้ว่า   รูปํ      อตีตานาคต-
ปจฺจุปฺปนฺนํ  อนิจฺจํ  ขยฏฺเ€น - รูปที่เป็นอดีต  อนาคต ปัจจุบัน  ชื่อว่า
ไม่เที่ยง  เพราะอรรถว่าสิ้นไป.  เพราะฉะนั้น  ภิกษุนั้นย่อมพิจารณาว่า
รูปที่เป็นอดีตสิ้นไปในอดีตนั่นแล,   รูปนั้นยังไม่มาถึงภพนี้   เพราะเหตุ
นั้น   จึงชื่อว่า   อนิจฺจํ   เพราะอรรถว่าสิ้นไป,   รูปที่เป็นอนาคตจักเถิด
ในภพเป็นลำดับไป,   แม้รูปนั้นก็จักในรูปในภพนั้น   จักไม่ไปสู่ภพอื่น
จากภพนั้น  เพราะเหตุนั้น   จึงชื่อว่า   อนิจฺจํ   เพราะอรรถว่าสิ้นไป,
รูปที่เป็นปัจจุบันย่อมสิ้นไปในปัจจุบันนั่นเอง,  ย่อมไม่ไปจากนี้    เพราะ
เหตุนั้น  จึงชื่อว่า  อนิจฺจํ  เพราะอรรถว่าสิ้นไป,  รูปที่เป็นภายในก็
๑. ขุ. ป. ๓๑/๑๐๐.
สิ้นไปในภายในนั่นเอง,  ไม่ไปสู่ภายนอก  เพราะเหตุนั้น  จึงชื่อว่า
อนิจฺจํ  เพราะอรรถว่าสิ้นไป.  แม้รูปภายนอกหยาบละเอียด  ทราม
ประณีต  มีในที่ไกล  ที่ในที่ใกล้   ก็สิ้นไปในที่นี้นั่นเอง  เพราะเหตุ
นั้น  จึงชื่อว่า  อนิจฺจํ  เพราะอรรถว่าสิ้นไป.  แม้การพิจารณาทั้งหมด
นี้ก็เป็นสัมมสนญาณอย่างหนึ่ง  ด้วยสามารถแห่งนี้ว่า  อนิจฺจํ
ขยฏฺเฐน,  แต่โดยประเภท  มี  ๑๑  อย่าง.
        อนึ่ง  ภิกษุย่อมพิจารณารูปนั้นทั้งหมดว่า  ทุกขํ  ภยฏฺเ€น
ชื่อว่า  เป็นทุกข์  เพราะอรรถว่าน่ากลัว.  สิ่งที่ไม่เที่ยงย่อมนำมาซึ่งภัย
ดุจภัยของพวกเทพในสีโหปมสูตร.  แม้การพิจารณานี้ก็เป็นสัมมสน-
ญาณอย่างหนึ่ง  ด้วยสารถแห่งรูปนี้ว่า  ทุกฺขฺ  ภยฏฺเ€น  แต่โดย
ประเภท   มี  ๑๑  อย่าง.
        อนึ่ง  ภิกษุย่อมพิจารณาว่า  รูปแม้ทั้งหมดนั้น  เป็น  อนตฺตา
เพราะอรรถว่าหาแก่นสารมิได้เหมือนทุกข์.  บทว่า  อสารกฏฺเ€น
เพราะไม่มีสาระในตนที่กำหนดได้อย่างนี้ว่า  อัตตา - ตัวตน  นิวาสี-
ผู้อาศัย  การโก  -  ผู้กระทำ  เวทโก - ผู้เสวย สยํวสี - ผู้มีอำนาจด้วย
ตนเอง.  สิ่งใดไม่เที่ยง  สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์  ไม่สามารถจะห้ามความไม่
เที่ยง  หรือ  ความเกิด  ความเสื่อม  และความบีบคั้นของคนได้,  บท
๑. สํ. ขนฺธ. ๑๗/๑๑๕.