๖๖๖    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๖๖๗
เป็นผู้กระทำเป็นต้นของผู้นั้นจักมีได้แต่ไหน.   ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ว่า  รูปญฺจ  หิทํ  ภิกฺขเว  อตฺตา  อภวิสฺส,  นยิทํ  รูปํ  อาพาธาย
สํวตฺเตยฺย   เป็นอาทิ  ความว่า  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   หากรูปนี้พึงเป็น
ตัวตนแล้วไซร้,   รูปนี้ก็จะไม่พึงเป็นไปเพื่อความเจ็บป่วย.  เพราะเหตุ
นั้น   การพิจารณานี้  จึงเป็นสัมมสนญาณอย่างหนึ่ง  ด้วยสามารถแห่ง
บทนี้ว่า   อนตฺตา  อสารกฏฺเ€น -  รูปเป็นอนัตตา  เพราะหาแก่นสาร
มิได้,   แต่โดยประเภทมี  ๑๑  อย่าง.  ในเวทนาเป็นต้นก็มีนัยนั้นเหมือน
กัน. ด้วยประการฉะนี้   ในขันธ์หนึ่ง ๆ  ทำอย่างละ  ๑๑  อย่าง  จึงเป็น
สัมมสนญาณ  ๕๕    ในขันธ์ ๕  คือโดยความไม่เที่ยง  ๕๕   โดยความ
เป็นทุกข์  ๕๕    โดยความเป็นอนัตตา  ๕  เพราะเหตุนั้น    ทั้งหมดจึง
รวมเป็นสัมมสนญาณ  ๑๖๕  อย่าง.
           แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า   เพิ่มแม้บทว่า   สพฺพํ  รูปํ    สพฺพํ
เวทนํ  สพฺพํ  สญฺํ   สพฺเพ   สงฺขาเร  สพฺพํ  วิญฺาณํ  ลงไป
ในขันธ์หนึ่ง ๆ    ทำอย่างละ  ๑๒  รวมเป็น  ๖๐  ในขันธ์ ๕,   โดย
อนุปัสนาเป็นสัมมสนญาณ ๑๘๐  อย่าง.
          อนึ่ง   ในการจำแนกอดีตเป็นต้น   พึงทราบความที่เวทนาเป็น
อดีต    อนาคตและปัจจุบัน  ด้วยสามารถแห่งสันตติและด้วยสามารถแห่ง
ขณะเป็นต้น.  ในบทนั้นพึงทราบเวทนา  ด้วยสามารถสันตติดังต่อไปนี้
๑. วิ. มหา. ๔/๒๐.
เวทนาที่นับเนื่องในวิถีจิต ๑   ชวนจิต ๑   สมาบัติ ๑  และเป็นไปด้วย
การประกอบเสมอ ๆ  ในอารมณ์อย่างหนึ่ง  เป็นปัจจุบัน,  ก่อนจากนั้น
เป็นอดีต,   หลังจากนั้นเป็นอนาคต    เวทนาด้วยสามารถขณะ    คือ
เวทนากระทำกิจของตนอันนับเนื่องในขณะ ๓   คือ  ที่ถึงที่สุดเบื้องต้น
ที่สุดเบื้องปลายและท่ามกลาง   เป็นปัจจุบัน.     ก่อนจากนั้นเป็นอดีต,
หลังจากนั้นเป็นอนาคต.    พึงทราบความต่างแห่งเวทนาภายในและภาย
นอก   ด้วยสามารถเวทนาภายในของตนนั่นเอง.
           พึงทราบความหยาบและความละเอียดของเวทนา    ด้วยสามารถ
แห่ง  ชาติ   สภาวะ   บุคคล   โลกิยะ   และ  โลกกุตระ   ที่ท่านกล่าว
ไว้ในวิภังค์   โดยนัยมีอาทิว่า  เวทน่าเป็นอกุศลหยาบ,   เวทนาเป็น
กุศลและอัพยากฤต   ละเอียด.  พึงทราบเวทนาด้วยสามารถแห่งชาติ
ก่อนดังต่อไปนี้    เวทนาเป็นอกุศล   เป็นไปเพื่อความไม่สงบ  เพราะเป็น
กิริยเหตุอันมีโทษ   และเพราะกิเลสทำให้เดือดร้อน   เพราะเหตุนั้น  จึง
เป็นเวทนาหยาบกว่า   เวทนาที่เป็นกุศล,  เป็นเวทนาหยาบกว่า  วิบาก
อัพยากฤต   เพราะมีความขวนขวาย   มีความอุตสาหะ   มีวิบาก    โดย
กิเลสทำให้เดือดร้อน     และโดยมีโทษ,      เวทนาเป็นเวทนาหยาบกว่า
กิริยาอัพยากฤต   เพราะมีวิบาก  โดยกิเลสทำให้เดือดร้อน  โดยมีพยาบาท
และโดยมีโทษ.  ก็เวทนาเป็นกุศล  และอัพยากฤต  ละเอียดกว่าเวทนา
๑. อภิ. วิ. ๓๕/๑๑.