๖๗๒    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๖๗๓
ปรนิมมิตวสวัตดี  ละเอียดแท้.   อนึ่ง   พึงประกอบแม้สุขในบททั้งปวง
ตามสมควร   เหมือนทุกข์,    เวทนาไร ๆ    มีวัตถุเลว   ด้วยสามารถวัตถุ
เป็นเวทนาหยาบ,  มีวัตถุประณีต   เป็นเวทนาละเอียด,   เวทนาใดที่หยาบ
ในประเภทแห่งวัตถุที่เลวและประณีต  เวทนานั้นเป็นเวทนาเลว,  เวทนา
ที่ละเอียด   เป็นเวทนาประณีต  พึงเห็นด้วยประการฉะนี้.
             ส่วนบทว่า  ทูรสนฺติเก   ไกลและใกล้   ท่านจำแนกไว้ในวิภังค์
โดยนัยมีอาทิว่า   อกุสลา   เวทนา  กุสลาพฺยากตาหิ   เวทนาหิ   ทูเร,
อกุสลา    เวทนา   อกุสลาย   เวทนาย  สนฺติเก. - อกุศลเวทนามีใน
ที่ไกลจากเวทนาเป็นกุศลและอัพยากฤต. อกุศลเวทนามีในที่ใกล้เวทนา
เป็นอกุศล.   เพราะฉะนั้น   อกุศลเวทนามีในที่ไกลจากกุศลและอัพยา-
กฤต  โดยเป็นสภาคกัน  โดยไม่เกี่ยวข้องกัน  และโดยไม่คล้ายคลึงกัน.
เวทนาเป็นกุศลและอัพยากฤต   ก็มีในที่ไกลจากอกุศลเหมือนกัน.   ใน
วาระทั้งปวงก็มีนัยนี้.    บทนี้ว่า     เวทนาเป็นอกุศล     มีในที่ใกล้แห่ง
อกุศล    โดยเป็นสภาคกัน    โดยเกี่ยวข้องกัน      และโดยคล้ายคลึงกัน
เป็นกถามุขโดยพิสดารในการจำแนก   มีเวทนาอดีตเป็นต้น.   แต่บทนี้
พึงทราบแม้แห่งสัญญาเป็นต้น    อันสัมปยุตด้วยเวทนานั้น ๆ    อย่างนี้
เหมือนกัน.
๑. อภิ. วิ. ๓๕/๑๓.
                  อนึ่ง      ในเวทนาเป็นต้นนี้       โลกุตรธรรมใดมาแล้วในธรรม
ทั้งหลาย.  ที่ย่อโดยไปยาลว่า  จกฺขุ  ฯเปฯ  ชรามรณํ,  ธรรมเหล่านั้น
ไม่พึงถือเอาในที่อธิการนี้      เพราะเข้าไปใกล้อสัมมสนญาณ.     ธรรม
เหล่านั้น  ท่านกล่าวไว้ด้วยสามารถการแสดงธรรมที่ท่านสงเคราะห์ด้วย
บทนั้น ๆ  อย่างเดียว   และโดยนัยมาแล้ว  ในอภิญเญยยนิทเทส.  อนึ่ง
แม้ธรรมเหล่าใดเข้าถึงสัมมสนญาณ,  ในธรรมเหล่านั้น   ธรรมเหล่าใด
ปรากฏแก่ญาณใด      ย่อมถึงการกำหนดถือเอาได้โดยง่าย,     ในธรรม
เหล่านั้น   พึงปรารภสัมมสนญาณ  ด้วยญาณนั้น.   พึงทราบว่า   ท่าน
กล่าวถึงสัมมสนญาณ   ด้วยสามารถญาณเหล่านั้น   โดยปริยายว่า   เมื่อ
พิจารณาธรรม  มีชาติชราและมรณะ ในความไม่มีสัมมสนญาณต่างหาก
ด้วยสามารถชาติชราและมรณะ    แม้ญาณเหล่านั้นก็เป็นอันได้พิจารณา
แล้ว.
                  แม้ไม่แตะต้องความต่างมี  อัชฌัตตะ  เป็นต้น  เพราะท่านกล่าว
สัมมสนญาณไว้ด้วยสามารถแห่งติกะอันเป็นอดีต    โดยนัย    มีอาทิว่า
อตีตานาคตปจฺจุปฺปนฺนํ   อนิจฺจโต     ววตฺเถติ - พระโยคาวจรย่อม
กำหนดอดีต    อนาคต   ปัจจุบัน   โดยความเป็นของไม่เที่ยง  แม้กำหนด
ด้วยสามารถแห่งอตีตติกะแล้ว   ก็พึงทำสัมมสนญาณ   โดยความเป็นของ
ไม่เที่ยงเป็นต้นนั่นแล.
                 ๑๐๑ - ๑๐๒ ]    ก็เพราะรู้สิ่งที่ไม่เที่ยง     มีประเภทเป็นสังขตะ