๖๗๔    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๖๗๕
เป็นต้น  โดยความแน่นอน.  ฉะนั้น  เพื่อแสดงปริยายแห่งรูปนั้น หรือ
เพื่อแสดงความเป็นไปแห่งมนสิการด้วยอาการต่าง ๆ   พระสารีบุตร จึง
กล่าวบทมีอาทิว่า  รูปํ อตีตานาคตปจฺจุปฺปนฺนํ  อนิจฺจํ  สงฺขตํ - รูปทั้งที่
เป็นอดีต   อนาคตและปัจจุบันไม่เที่ยง    อันปัจจัยปรุงแต่ง.    จริงอยู่
รูปนั้น  เป็น อนิจฺจํ  เพราะอรรถว่ามีแล้วไม่มี,  ชื่อว่า  อนิจฺจํ เพราะ
มีที่สุดคือความไม่เที่ยง      หรือ     เพราะมีเบื้องต้นและที่สุด,   ชื่อว่า
สังขตะ   เพราะอันปัจจัยปรุงแต่ง.   ชื่อว่า  ปฏิจฺจสมุปฺปนฺนํ  เพราะ
อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นร่วมกัน.       พระสารีบุตรแสดงถึงความไม่ขวนขวาย
ปัจจัย   แม้เมื่อรูปอันปัจจัยปรุงแต่ง.   บทว่า   ขยธมฺมํ   มีความสิ้นไป
เป็นธรรมดา   ได้แก่   สิ้นไปเป็นธรรมดา   สิ้นไปเป็นปรกติ.    บทว่า
วยธมฺมํ   มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา   ได้แก่    มีความพินาศไปเป็น
ธรรมดา.     รูปนี้    ไม่สิ้นไปด้วยสามารถความในรูปตั้งความเป็นผู้มี
ความเฉื่อยชา     ปราศจากปรกติอย่างเดียว.    แม้ความเพียงพอจะทำให้
เฉื่อยชา   ท่านก็กล่าวว่า  ความสิ้นไปในโลก.
                   บทว่า    วิราคธมฺมํ - มีความคลายไปเป็นธรรมดา    บทนี้มิใช่
เสื่อมไปด้วย   ด้วยการไปในที่ไหน  ก้าวล่วงสภาวะเป็นปรกติอย่างเดียว.
ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า    ความเกลียดชังก็ดี     ความก้าวล่วงก็ดี     ชื่อว่า
วิราคะ.
                 บทว่า   นิโรธธมฺมํ - มีความดับไปเป็นธรรมดา   บทนี้   มิใช่
ไม่เวียนมาอีก  ด้วยก้าวล่วงสภาวะ,  พึงทราบว่า   ท่านกล่าวถึงบทหลัง ๆ
ด้วยสามารถขยายบทก่อน ๆ ว่า  มีการดับไป  ด้วยการดับความไม่เวียน
มาอีกเป็นธรรมดาอย่างเดียว.
            อีกอย่างหนึ่ง    พึงประกอบว่า     รูปมีความสิ้นไปเป็นธรรมดา
ด้วยการทำลายไปแห่งรูปอันเนื่องอยู่ในภพหนึ่ง,     มีความเสื่อมไปเป็น
ธรรมดา    ด้วยความเสื่อมแห่งรูปอันเนื่องด้วยสันตติอย่างเดียว.    รูปมี
คลายไปเป็นธรรมดา     ด้วยการทำลายขณะแห่งรูป.     มีความดับเป็น
ธรรมดา  ด้วยข้ามพ้นแล้วไม่เกิดมาอีก.
            ในบทมีอาทิว่า    ชรามรณํ    อนิจฺจํ - ชราและมรณะไม่เที่ยง
ความว่า   ชราและมรณะมิใช่ไม่เที่ยง,   แต่ชรามรณะ   ชื่อว่า  ไม่เที่ยง
เพราะขันธ์ทั้งหลายมีความไม่เที่ยงเป็นสภาวะ   จึงมีชรามรณะ.   แม้ใน
สังขตะ   เป็นต้น   ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.   ในระหว่างไปยาล   เพราะแม้
ชาติก็ไม่เที่ยงเป็นต้น  จึงมีนัยนี้เหมือนกัน.
            บทมีอาทิว่า  ชาติปจฺจยา  ชรามรณํ - เพราะชาติเป็นปัจจัย   จึงมี
ชราและมรณะนี้  ท่านมิได้กล่าวด้วยสามารถวิปัสสนา     ท่านกล่าวโดย
ปริยายว่า  สัมมสนญาณย่อมมีได้แก่การย่อด้วยสามารถองค์หนึ่ง ๆ แห่ง
ปฏิจจสมุปบาท   แล้วกำหนดไว้อย่างเดียว.   แต่นั่นไม่ใช่กลาปสัมมสน-
ญาณ,  นั่นเป็นธรรมฐิติญาณเท่านั้น.
            บทว่า  อสติ  ชาติยา - เมื่อชาติไม่มี  นี้ท่านทำเป็นลิงควิปลาส.
ท่านจึงกล่าวว่า   อสนฺติยา   ชาติยา.   บทว่า   อสติ  สงฺขาเรสุ - เมื่อ