๖๘๒    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๖๘๓
อรรถกถาอุทยัพพยญาณนิทเทส
        ๑๐๓ - ๑๑๑]  บัดนี้   เพื่อกำหนดสังขารทั้งหลายอันผู้ไปถึงฝั่ง
ตั้งอยู่แล้วด้วยทำภาวนาให้มั่นคงโดยนัยต่าง  ๆ  แห่งสัมมสนญาณดังกล่าว
แล้วในลำดับ    เห็นแล้วโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น   ด้วย  อุท-
ยัพพยญาณ   แล้วพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น     พระ-
สารีบุตรจึงแสดงรูปอันเกิดด้วยปัจจัยทั้งหลายตามที่เป็นของตน    ด้วย
สันตติในบทมีอาทิว่า  ชาตํ  รูปํ - รูปที่เกิดแล้ว  ในนิทเทสแห่ง อุท-
ยัพพยานุปัสนาญาณ   ดังกล่าวแล้ว.
            บทว่า   อุทโย  ได้แก่   ชาติ  คือ  ความเกิดเป็นอาการใหม่แห่ง
รูปที่เกิดแล้วนั้น   มีความเกิดเป็นลักษณะ.
            บทว่า  วโย  ได้แก่  ความสิ้นไป  ความดับไป  มีความแปรปรวน
เป็นลักษณะ,   การพิจารณาถึงบ่อย ๆ   ชื่อว่า   อนุปัสนา,     อธิบายว่า
ได้แก่  อุทยัพพยานุปัสนาญาณ.    แม้ในเวทนาเป็นต้นก็มีนัยนี้เหมือน
กัน.   ไม่แตะต้องชาติชราและมรณะ    เพราะความเกิดความเสื่อมอันผู้
มีชาติชราและมรณะควรกำหนดถือเอา    ไม่แตะต้องชาติชราและมรณะ
เพราะไม่มีความเกิดและความเสื่อม   แล้วท่านทำไปยาลว่า   ชาตํ  จกฺขุํ
ฯ เป ฯ ชาโต  ภโว - จักษุเกิดแล้ว...ภพเกิดแล้ว  ดังนี้.   พระโยคาวจร
นั้น  เมื่อเห็นความเกิดและความเสื่อมของขันธ์ ๕  อย่างนี้  ย่อมรู้อย่างนี้
ว่า   การรวมเป็นกองก็ดี    การสะสมก็ดี     ย่อมไม่มีแก่ขันธ์ที่ยังไม่เกิด
ก่อนแต่ขันธ์เหล่านี้เกิด,    ชื่อว่าการมา   โดยรวมเป็นกอง   โดยความ
สะสม   ย่อมไม่มีแม้แก่ขันธ์ที่เกิดขึ้น,   ชื่อว่าการไปสู่ทิศน้อยใหญ่  ย่อม
ไม่มีแม้แก่ขันธ์ที่ดับ,   ชื่อว่าการตั้งลงโดยรวมเป็นกอง  โดยสะสม   โดย
เก็บไว้ในที่แห่งหนึ่ง   ย่อมไม่มีแม้แก่ขันธ์ที่ดับแล้ว.   เหมือนนักดีดพิณ
เมื่อเขาดีดพิณอยู่   เสียงพิณก็เกิด,    มิใช่มีการสะสมไว้ก่อนเกิด,    เมื่อ
เกิดก็ไม่มีการสะสม,    การไปสู่ทิศน้อยใหญ่ออกเสียงพิณที่ดับไปก็ไม่มี,
ดับแล้วไม่ว่าที่ไหนก็ไม่สะสมตั้งไว้,  ที่แท้แล้วพิณก็ดี    นักดีดพิณก็ดี
อาศัยความพยายามอันเกิดแต่ความพยายามของลูกผู้ชายไม่มีแล้วยังมีได้,
ครั้นมีแล้วยังเสื่อมได้ฉันใด,  ธรรมมีรูปและไม่มีรูปแม้ทั้งหมดก็ฉันนั้น
ไม่มีแล้วยังมีได้    ครั้นมีแล้วยังเสื่อมได้      พระโยคาวจรย่อมเห็นด้วย
ประการฉะนี้แล.
                   พระสารีบุตรครั้นแสดงการเห็นความเกิดและความเสื่อมโดยสัง-
เขปอย่างนี้แล้ว     บัดนี้เพื่อจะแสดงโดยพิสดาร     จึงถามถึงจำนวนโดย
รวมเป็นกองด้วยบทมีอาทิว่า    ปญฺจนฺนํ  ขนฺธานํ  อุทยํ  ปสฺสนฺโต
กติ   ลกฺขณานิ   ปสฺสติ - พระโยคาวจร   เมื่อพิจารณาเห็นความเกิด
แห่งขันธ์  ๕   ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะเท่าไร    เมื่อพิจารณาเห็นความ
เกิดแห่งขันธ์  ๕  จึงแก้ถึงจำนวนโดยรวมเป็นกองด้วยบทมีอาทิว่า  ปญฺ-
จวีสติ  ลกฺขณานิ  ปสฺสติ - ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ ๒๕ แล้วถาม