๖๘๔    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๖๘๕
ถึงจำนวนโดยการจำแนกอีกด้วยบทมีอาทิว่า     รูปกฺขนฺธสฺส     อุทยํ
ปสฺสนฺโต  กติ  ลกฺขณานิ  ปสฺสติ - พระโยคาวจร    เมื่อพิจารณา
เห็นความเกิดแห่งรูปขันธ์      ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร    แล้วแก้จำนวน
โดยการจำแนกด้วยบทมีอาทิว่า  รูปกฺขนฺธสฺส  อุทยํ  ปสฺสนฺโต  ปญฺจ
ลกฺขณานิ  ปสฺสติ - พระโยคาวจร     เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดของ
รูปขันธ์   ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ ๕   แล้วถามถึงการจำแนกลักษณะ
อีกด้วยบทมีอาทิว่า  รูปกฺขนฺธสฺส  อุทยํ  ปสฺสนฺโต   กตมานิ  ปญฺจ
ลกฺขณานิ  ปสฺสติ - เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดแห่งรูปขันธ์  ย่อมเห็น
ลักษณะ ๕  เป็นไฉน  แล้วจึงได้แก้ต่อไป.
            ในบทเหล่านั้นบทว่า  อวิชฺชาสมุทยา  รูปสมุทฺทโย - เพราะ
อวิชชาเกิดรูปจึงเกิด    ความว่า   เมื่อมีอวิชชาดังกล่าวแล้วว่า    โมหะใน
กรรมภพก่อนเป็นอวิชชา  ย่อมเกิดรูปในภพนี้.   บทว่า  ปจฺจยสมุท-
ยฏฺเ€น   ความว่า   โดยความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยนี้.   อนึ่ง   อวิชชา  ตัณหา
กรรมเป็นปัจจัยในอดีตเป็นเหตุแห่งปฏิสนธิในภพนี้.      และเมื่อยึดถือ
อวิชชา   ตัณหา   กรรม ๓ อย่างเหล่านี้       เป็นอันยึดถือสังขารุปาทาน
- ความยึดมั่นในสังขารนั่นเอง.
            บทว่า   อาหารสมุทยา - เพราะอาหารเกิด  ได้แก่   เพราะกว-
ฬิงการาหารมีกำลังในปัจจัยอันเป็นไป   จึงถือเอาอาหารนั่นแล.    ก็เมื่อ
ถือเอาอาหารนั้นก็เป็นอันถือเอาแม้อุตุและจิตอันเป็นเหตุแห่งความเป็น
ไปด้วยเหมือนกัน.
            บทว่า   นิพฺพตฺติลกฺขณํ - มีการเกิดเป็นลักษณะ     ความว่า
ท่านกล่าวถึงความเกิดแห่งรูปด้วยสามารถแห่งอัทธา - กาล   สันตติและ
ขณะ,  อนึ่ง   การเกิดนั่นแล   ชื่อว่าลักษณะ   เพราะเป็นลักษณะแห่ง
สังขตะ.
            บทว่า  ปญฺจ   ลกฺขณานิ -  ลักษณะ ๕ ได้แก่   ลักษณะ  ๕
เหล่านี้    คือ   อวิชชา    ตัณหา   กรรม    อาหาร   และ    การเกิด.
จริงอยู่   แม้ธรรม ๔  มีอวิชชาเป็นต้น   ก็ชื่อว่า   ลักขณะ    เพราะเป็น
เครื่องกำหนดความเกิดแห่งรูป.  ส่วน  นิพฺพตฺติ - การเกิดเป็นลักษณะ
แห่งสังขตะ  ชื่อว่า   ลักขณะ    เพราะเป็นเครื่องกำหนดว่า    แม้ความ
เกิดนั้นก็เป็น  สังขตะ.
            บทว่า   อวิชฺชานิโรธา  รูปนิโรโธ - เพราะอวิชชาดับรูปจึงดับ
ความว่า    เมื่อดับอวิชชาในภพนี้   เพราะเป็นปัจจัยแห่งภพอนาคตด้วย
อรหัตมรรคญาณ รูปอนาคตย่อมไม่เกิด  คือ ดับเพราะไม่มีปัจจัย
            บทว่า    ปจฺจยนิโรธฏฺเ€น -  ด้วยความดับแห่งปัจจัย  คือ  ด้วย
ความที่ปัจจัยดับ.        อนึ่ง  ในความดับในบทนี้เป็นความดับ   อวิชชา
ตัณหา  และกรรม   อันเป็นปัจจัยแห่งปฏิสนธิในอนาคต.