๖๙๐    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๖๙๑
            อนึ่ง   อนัตลักษณะ    ด้วยการเห็นความเกิดโดยปัจจัย   ย่อม
ปรากฏแก่พระโยคาวจรนั้น    ผู้เข้าใจถึงความประพฤติอันเนื่องด้วยปัจจัย
คือไม่มีความเพียรในธรรมทั้งหลาย.   อนิจลักษณะ ด้วยการเห็นความ
เกิดและความเสื่อมโดยปัจจัย       ย่อมปรากฏแก่พระโยคาวจรผู้เข้าใจถึง
ความมีเเล้วไม่มีและผู้เข้าใจถึงความสงัดจากที่สุดเบื้องต้นและเบื้องปลาย.
แม้ทุกขลักษณะ        ก็ปรากฏแก่พระโยคาวจรผู้เข้าใจถึงความบีบคั้น
ด้วยความเกิดและความเสื่อม.     แม้สภาวลักษณะ   ก็ย่อมปรากฏแก่
พระโยคาวจรผู้เข้าใจถึงการกำหนดความเกิดและความเสื่อม    แม้ความ
เป็นไปชั่วคราวของสังขตลักษณะในสภาวลักษณะ    ก็ย่อมปรากฏ
แก่พระโยคาวจรผู้เข้าใจถึงความไม่มีความเสื่อม  ในลักษณะแห่งการเกิด
และการเกิดในขณะแห่งความเสื่อม.
            สังขารทั้งหลายใหม่เป็นนิจ     ย่อมปรากฏแก่ประเภทของสัจจะ
ปฏิจจสมุปปาทนัยและลักษณะที่มีความปรากฏแล้วนั้นว่า   ธรรมเหล่านี้
ที่ยังไม่เคยเกิดก็เกิด  ที่เกิดแล้วก็ดับไป   ดังนี้.     สังขารทั้งหลาย
มิใช่ใหม่เป็นนิจอย่างเดียว,   สังขารทั้งหลายย่อมปรากฏ  ดุจหยาดน้ำ
ค้างในเวลาพระอาทิตย์ขึ้น   ดุจฟองน้ำ  ดุจรอยไม้ขีดในน้ำ   ดุจเมล็ด-
ผักกาดบนปลายเข็ม  ดุจฟ้าแลบ   ดุจมายา  พยับแดด,  ความฝัน ลูกไฟ,
ล้อรถ,  คนธรรพ์,  นคร,  ต่อมน้ำและต้นกล้วยเป็นต้น    หาแก่นสารมิ
ได้  ไม่มีสาระ.   ด้วยเหตุเพียงเท่านี้      วิปัสสนาอย่างอ่อนอันชื่อว่าอุท-
ยัพพยานุปัสนาอันพระโยคาวจรนั้นแทงตลอดลักษณะ  ๕๐ ถ้วน    โดย
อาการนี้ว่า   ความเสื่อมเป็นธรรมดาย่อมเกิดขึ้น,   และพระโยคา-
วจรย่อมเข้าถึงความเสื่อมที่เกิดขึ้นแล้ว  ดังนี้    ตั้งอยู่เป็นอันบรรลุ
ก่อน,  เพราะบรรลุญาณใด  พระโยคาวจรย่อมชื่อว่า  อารทฺธวิปสฺสโก
- ผู้ปรารภวิปัสสนา.   วิปัสสนูปกิเลส  ๑๐  มีโอภาสเป็นต้น     ย่อม
เกิดแก่พระโยคาวจรผู้ตั้งอยู่ในญาณนี้,  พระโยคาวจรผู้ไม่ฉลาดเป็นผู้มี
ความสำคัญในอุปกิเลสที่เกิดขึ้นว่าเป็นมรรคญาณ     ย่อมถือเอาสิ่งที่ไม่
เป็นมรรคว่าเป็นมรรค,   และเป็นผู้ถูกอุปกิเลสพัวพันให้ยุ่งเหยิง.
            ส่วนพระโยคาวจรผู้ฉลาด   ยกวิปัสสนาขึ้นในอุปกิเลสเหล่านั้น
สะสาง  ความยุ่งเหยิง   คือ  อุปกิเลสเสีย  แล้วกำหนดมรรคคือ  ทางและ
มิใช่มรรคว่า  ธรรมเหล่านี้มิใช่มรรค.    ส่วนวิปัสสนาญาณที่ปฏิบัติไป
ตามวิถี  พ้นจากอุปกิเลสเป็นมรรค.   ญาณที่รู้ว่าเป็นมรรคและมิใช่มรรค
ของพระโยคาวจรนั้น   ตั้งอยู่อย่างนี้   ชื่อว่า  มัคคามัคคญาณทัสสน-
วิสุทธิ - ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นว่าทางหรือมิใช่ทาง.
            ก็และด้วยเหตุเพียงเท่านี้   เป็นอันทำความกำหนดสัจจะ  ๔  ด้วย
ญาณนั้น.   อย่างไร ?  เมื่อมีความเข้าใจนามรูปก็เป็นอันทำความกำหนด
ทุกขสัจด้วยให้กำหนดนามรูป   กล่าวคือทิฏฐิวิสุทธิดังกล่าวแล้ว    ด้วย
คำว่า  ธัมมฐิติญาณ  เพราะมีความเข้าใจปัจจัย.    การกำหนดสมุทย-
สัจด้วยความเข้าใจปัจจัยอันได้แก่กังขาวิตรณวิสุทธิ,      เป็นอันทำความ