เห็นโดยความเป็นอนัตตา ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอัตตา ย่อม |
เบื่อหน่าย ไม่เพลิดเพลิน ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมให้ดับ |
ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของ |
ไม่เที่ยง ย่อมละนิจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อม |
ละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตสัญญาได้ |
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความเพลิดเพลิดได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละ |
ราคะได้ เมื่อให้ดับย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละความถือมั่น |
ได้. |
[๑๑๓] จิตมีเวทนาเป็นอารมณ์ ฯ ล ฯ จิตมีสัญญาเป็นอารมณ์ |
ฯ ล ฯ จิตมีสังขารเป็นอารมณ์ ฯ ล ฯ จิตมีวิญญาณเป็นอารมณ์ ฯ ล ฯ |
จิตมีจักษุเป็นอารมณ์ ฯ ล ฯ จิตมีชราและมรณะเป็นอารมณ์ เกิดขึ้น |
แล้วย่อมแตกไป พระโยคาวจรพิจารณาอารมณ์นั้นแล้ว พิจารณาเห็น |
ความแตกไปแห่งจิตนั้น ย่อมพิจารณาเห็นอย่างไร ชื่อว่าพิจารณาเห็น |
ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง เมื่อสละคืน ย่อมละความ |
ถือมั่นได้. |
[๑๑๔] การก้าวไปสู่วัตถุแต่ปุริมวัตถุ การหลีกไปด้วยปัญญา |
อันรู้ชอบ. การคำนึงถึงอันเป็นกำลัง ธรรม ๒ ประการ คือ การ |
พิจารณาหาทางและความเห็นแจ้ง บัณฑิตกำหนดเอาด้วยสภาพเดียวกัน |
โดยความเป็นไปตามอารมณ์ ความน้อมจิตไปในความดับ ชื่อว่า |