๖๙๔    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๖๙๕
วิปัสสนาอันมีความเสื่อมไปเป็นลักษณะ     การที่พระโยคาวจรพิจารณา
อารมณ์แล้ว พิจารณาเห็นความแตกไปแห่งจิตและความปรากฏโดยความ
เป็นของสูญ      ชื่อว่าอธิปัญญาวิปัสสนา  -  ความเห็นแจ้งด้วยอธิปัญญา
พระโยคาวจรผู้ฉลาดในอนุปัสนา ๓  ในวิปัสสนา ๔  ย่อมไม่หวั่นไหว
ในทิฏฐิต่าง ๆ   เพราะความเป็นผู้ฉลาดในความปรากฏ ๓ ประการ.
             ชื่อว่าญาณ    เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น   ชื่อว่าปัญญา   เพราะ
อรรถว่ารู้ชัด     เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า    ปัญญาในการพิจารณา
อารมณ์   แล้วพิจารณาเห็นความแตกไป   เป็นวิปัสสนาญาณ.
อรรถกถาภังคานุปัสสนาญาณนิทเทส
            ๑๑๒ - ๑๑๓] พระโยคาวจรนั้นตั้งอยู่ในอุทยัพพยานุปัสนาญาณ
ครั้นรู้อุทยัพพยานุปัสนาญาณที่ปฏิบัติไปตามวิถี     พ้นจากอุปกิเลสด้วย
การให้กำหนดมรรค - ทาง    และมิใช่มรรค - ทาง    ว่าเป็นมรรค - ทาง
ดังนี้  แล้วปรารภอุทยัพพยานุปัสนาญาณอีก  เพื่อทำญาณนั้นให้บริสุทธิ์
ด้วยดี  ด้วยกำหนดพระไตรลักษณ์ แล้วเห็นแจ้งสังขารทั้งหลายที่กำหนด
ด้วยความเกิดและความเสื่อม  โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น.   ญาณ
นั้นของพระโยคาวจรนั้นเป็นญาณแก่กล้า    ย่อมนำไปอย่างนี้,   สังขาร
ทั้งหลายย่อมปรากฏเบา,   เมื่อญาณแก่กล้านำไป   เมื่อสังขารปรากฏเบา
ญาณไม่ก้าวล่วงความเกิด  เมื่อความดับมีอยู่   ก็ยังตั้งอยู่พร้อม.
            อีกอย่างหนึ่ง  เพราะน้อมไปสู่นิโรธ   ญาณละความเกิดตั้งสติไว้
ในความดับ,   ภังคานุปัสนาญาณย่อมเกิดขึ้นในที่นี้.   บัดนี้  พึงทราบ
วินิจฉัยในนิทเทสแห่งญาณนั้น   บทว่า   รูปารมฺมณตา   จิตฺตํ   อุปฺ-
ปชฺชิตฺวา   ภิชฺชติ  ได้แก่   จิตมีรูปเป็นอารมณ์เกิดขึ้นแล้วดับไป.  อีก
อย่างหนึ่ง   อธิบายว่า  จิตเกิดขึ้นในความมีรูปเป็นอารมณ์แล้วดับไป.
                 บทว่า   ตํ  อารมฺมณํ   ปฏิสงฺขา - พิจารณาเห็นอารมณ์นั้น
ความว่า   รู้อารมณ์นั้นด้วยการพิจารณา.    เห็นโดยความสิ้นไป   โดย
ความเสื่อมไป.
                บทว่า  ตสฺส  จิตฺตสฺส  ภงฺคํ  อนุปสฺสติ - ย่อมพิจารณาเห็น
ความดับแห่งจิตนั้น  ความว่า  รูปอารมณ์นั้น   อันจิตใดเห็นโดยความ
สิ้นไปและโดยความเสื่อมไป,    พระโยคาวจรย่อมพิจารณาเห็นความดับ
แห่งจิตนั้น  ด้วยจิตดวงอื่น.   ด้วยเหตุนั้น   พระโบราณาจารย์จึงกล่าว
ไว้ว่า  าตญฺจ  าณญฺจ  อุโภ  วิปสฺสติ - พระโยคาวจรย่อมพิจารณา
เห็นทั้งสองอย่าง   คือจิตที่รู้แล้ว   และญาณ.
                 อนึ่ง  ในบทว่า   จิตฺตํ   นี้   ท่านประสงค์เอา    สัมปยุตจิต.
                 บทว่า  อนุปสฺสติ - ย่อมพิจารณาเห็น  ความว่า  ย่อมเห็นตาม ๆ
ไป,  คือ  เห็นบ่อย ๆ ด้วยอาการไม่น้อย.  ด้วยเหตุนั้น  พระสารีบุตร
จึงกล่าวว่า  อนุปสฺสตีติ  กถํ  อนุปสฺสติ,  อนิจฺจโต  อนุปสฺสติ   เป็น
อาทิ - ย่อมพิจารณาเห็นอย่างไร   ชื่อว่า   พิจารณาเห็น   ย่อมพิจารณา
เห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง.