๖๙๖    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๖๙๗
            ในบทนั้นมีอธิบายดังต่อไปนี้     เพราะที่สุดโต่ง     โดยความเป็น
ของไม่เที่ยง  ชื่อว่า  ภังคะ,  ฉะนั้น   พระโยคาวจรผู้เจริญภังคานุปัสนา
ย่อมพิจารณาเห็นรูปทั้งหมด  โดยความเป็นของไม่เที่ยง,   มิใช่เห็นโดย
ความเป็นของเที่ยง.   แต่นั้นพิจารณาเห็นรูปนั้นนั่นแล   โดยความเป็น
ทุกข์  มิใช่โดยความเป็นสุข  เพราะสิ่งที่ไม่เที่ยงเป็นทุกข์   และสิ่งที่เป็น
ทุกข์  เป็นอนัตตา.  ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา,    มิใช่โดย
ความเป็นอัตตา.
            อนึ่ง    เพราะสิ่งใดไม่เที่ยง    เป็นทุกข์    เป็นอนัตตา   สิ่งนั้น
ไม่ควรยินดี,   สิ่งใดไม่ควรยินดี   ไม่ควรกำหนัดในสิ่งนั้น.    ฉะนั้น
พระโยคาวจรย่อมเบื่อหน่าย,    มิใช่พอใจ,    ย่อมคลายกำหนัด,   มิใช่
กำหนัดในรูปที่เห็นนั้นว่า  อนิจฺจํ   ทุกฺขํ   อนตฺตา   โดยทำนองเดียว
กับภังคานุปัสนาญาณ.
            พระโยคาวจรนั้น     คลายกำหนัดอย่างนี้     ดับราคะด้วยญาณ
อันเป็นเพียงโลกิยะ,   อธิบายว่า   ไม่เกิดขึ้น,    ไม่ทำให้เกิดขึ้น.    อีก
อย่างหนึ่ง   พระโยคาวจรนั้น   คลายกำหนัดอย่างนี้แล้ว    ย่อมดับแม้
รูปที่ไม่เห็นเหมือนรูปที่เห็นด้วยสามารถ     อนฺวยาณ. - ญาณอันสืบ
เนื่องกัน  มิใช่ให้เกิดขึ้น.
            พระโยคาวจรทำไว้ในใจโดยการดับ,      ย่อมเห็นการดับของรูป
นั้น,  มิใช่เห็นความเกิด.   พระโยคาวจรนั้น   ปฏิบัติอย่างนี้แล้วย่อม
สละคืน,  มิใช่ถือเอา.   ท่านอธิบายไว้อย่างไร ?  การพิจารณาเห็นความ
ไม่เที่ยงเป็นต้นนี้   ท่านกล่าวว่า   เป็นการสละคืนด้วยการบริจาค   และ
สละคืนด้วยการแล่นไป    เพราะสละกิเลสด้วยอภิสังขารถือขันธ์กับด้วย
ตทังคปหานะ    และเพราะความแล่นไป     เพราะน้อมญาณนั้นไปใน
นิพพานอันตรงกันข้ามกับกิเลสนั้นด้วยการเห็นโทษของสังขตะ.
                  เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ประกอบด้วยอนุปัสนานั้น   ย่อมบริจาค-
สละกิเลสทั้งหลาย    โดยนัยดังกล่าวแล้ว   และย่อมแล่นไปในนิพพาน.
ไม่ยึดถือกิเลสด้วยทำให้เกิดขึ้น.      ไม่ยึดถือสังขตะเป็นอารมณ์ด้วยการ
ไม่ชี้ถึงโทษ.     ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า     ปฏินิสฺสชฺชติ,     ใน
อาทิยติ - ย่อมสละคืน,  ย่อมไม่ยึดถือ.
                   บัดนี้  เพื่อแสดงการละธรรมด้วยญาณเหล่านั้นของพระโยคาวจร
นั้น    พระสารีบุตรจึงกล่าวบทมีอาทิว่า    อนิจฺจโต   อนุปสฺสนฺโต
นิจฺจสญฺํ   ปชหติ - พระโยคาวจรเมื่อพิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง
ย่อมสละนิจสัญญา  ดังนี้.
                  ในบทเหล่านั้น   บทว่า  นนฺทึ - ความพอใจ   ได้แก่    ตัณหา
พร้อมด้วยปีติ.
                  บทว่า   ราคํ - ความกำหนัด   ได้แก่    ตัณหาที่เหลือ.
                  บทว่า  สมุทยํ - ความเกิดขึ้น ได้แก่ ความเกิดขึ้นแห่งราคะ.  อีก
อย่างหนึ่ง   ได้แก่   ความเกิดขึ้นแห่งรูป.