๖๙๘    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๖๙๙
            บทว่า  อาทานํ - ความยึดถือ  ได้แก่   ยึดถือกิเลสด้วยการทำให้
เกิด.  พึงทราบบทมีอาทิว่า  เวทนารมฺมณตา - ความมีเวทนาเป็นอารมณ์
โดยนัยดังกล่าวแล้วในที่นี้    และในตอนก่อน.
            ๑๑๔]   อนึ่ง   พึงทราบความในคาถาทั้งหลายดังต่อไปนี้   บทว่า
วตฺถุสงฺกมนา - การก้าวไปสู่วัตถุ    ความว่า    การก้าวไปสู่วัตถุอื่นแต่
ปุริมวัตถุ      ด้วยการเห็นความดับของจิตที่เห็นความดับของขันธ์หนึ่ง ๆ
ในขันธ์ทั้งหลายมีรูปขันธ์เป็นต้น   เป็นอันเห็นความดับแล้ว.
            บทว่า  ปญฺาย  จ  วิวฏฺฏนา - การหลีกไปด้วยปัญญา  ได้แก่
ละความเกิดเสียแล้วตั้งอยู่ในความเสื่อม.
            บทว่า   อาวชฺชนา   พลญฺเจว - การคำนึงถึงอันเป็นกำลัง   คือ
ความเป็นผู้สามารถคำนึงถึงในลำดับนั่นเอง   เพื่อเห็นความดับของขันธ์
หนึ่ง ๆ    ในขันธ์ทั้งหลายมีรูปขันธ์เป็นต้นแล้ว    เห็นความดับของจิต
อันมีความดับเป็นอารมณ์.
            บทว่า   ปฏิสงฺขา  วิปสฺสนา -  การพิจารณาหาทางและความ
เห็นแจ้ง  คือ   การพิจารณาอารมณ์นี้  ชื่อว่า   ภังคานุปัสนา.
            บทว่า อารมฺมณอนฺวเยน  อุโภ  เอกววตฺถนา   ธรรม  ๒  อย่าง
บัณฑิตกำหนดเอาด้วยสภาพเดียวกัน        โดยความเป็นไปตามอารมณ์
ความว่า   การกำหนดธรรม  ๒ ประการ   โดยสภาพเดียวกันว่า   สังขาร
แม้ในอดีตแตกแล้ว,  แม้ในอนาคตก็จักแตกเหมือนสังขารนี้   ด้วยความ
เป็นไปตามอารมณ์ที่เห็นแล้ว        โดยประจักษ์.        แม้โบราณาจารย์
ก็กล่าวไว้ว่า
                          สํวิชฺชมานมฺหิ  วิสุทฺธทสฺสโน
                          ตทนฺวยํ  เนติ  อตีตนาคเต,
                          สพฺเพปิ  สงฺขารคตา   ปโลกิโน
                          อุสฺสาวพินฺทู  สุริเยว  อุคฺคเต.
                          ภิกษุผู้มีความเห็นบริสุทธิ์ในสังขารที่เป็น
                 ปัจฺจุบัน       ย่อมน้อมนำความเห็นบริสุทธิ์นั้นไป
                 พิจารณาสังขารที่เป็นอดีตและอนาคตว่า    สังขาร
                 ทั้งหลายแม้ทั้งหมดก็มี ปรกติแตกสลายไป เหมือน
                 หยาดน้ำค้างแห้งไปใน เมื่อพระอาทิตย์ขึ้น ฉะนั้น.
                 บทว่า     นิโรเธ     อธีมุตฺตตา - ความน้อมจิตไปในความดับ
ความว่า   ความน้อมไป   ความเป็นผู้หนักแน่น   ความเอียงไป   ความ
โอนไป    ความลาดไปในความดับ     อันได้แก่ภังคะ - ความทำลายนั้น
เพราะทำความกำหนดธรรมทั้งสองอย่างให้เป็นอันเดียวกัน  ด้วยอำนาจ
ความดับอย่างนี้.
            บทว่า    วยลกฺขณวิปสฺสนา - วิปัสสนาอันมีความเสื่อมไปเป็น
ลักษณะ  ท่านอธิบายว่า  วิปัสสนานี้ชื่อว่า  วยลักขณวิปัสสนา.