๗๐๐    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๗๐๑
            บทว่า อารมฺมณญฺจ  ปฏิสงฺขา - พิจารณาอารมณ์ คือรู้อารมณ์
มีรูปเป็นต้นก่อน.
            บทว่า  ภงฺคญฺจ  อนุปสฺสติ - พิจารณาเห็นความดับ   ความว่า
เห็นความดับของอารมณ์นั้นแล้ว   พิจารณาเห็นความดับของอารมณ์นั้น
และของจิต.
            บทว่า  สุญฺโต   จ  อุปฏฺ€านํ - ปรากฏโดยความเป็นของสูญ
ได้แก่   ความปรากฏโดยความเป็นของสูญว่า   สังขารทั้งหลายย่อมแตก,
ความแตกแห่งสังขารเหล่านั้น   คือความตาย,   ไม่มีอะไร ๆ  อื่น   ดังนี้
ย่อมสำเร็จ.   ด้วยเหตุนั้นโบราณาจารย์จึงกล่าวว่า
                            ขนฺธา  นิรุชฺฌนฺติ  น   จิตฺถิ  อญฺโ
                      ขนฺธาน  เภโท  มรณนฺติ   วุจฺจติ,
                      เตสํ  ขยํ  ปสฺสติ  อปฺปมตฺโต
                      มณีว   วิชฺฌํ  วชิเรน  โยนิโส.
                          ขันธ์ทั้งหลายย่อมดับ    ไม่มีอะไร ๆ   อื่น
                  คือ   ไม่มีสัตว์บุคคล  ความแตกแห่งขันธ์    ท่าน
                  เรียกว่า  มรณะ  ผู้ไม่ประมาทเห็นความสิ้นไปแห่ง
                  ขันธ์เหล่านั้นโดยแยบคาย  ดุจช่างแก้วมณี   ใส่ใจ
                  อยู่ซึ่งการเจาะด้วยแก้ววิเชียร   ฉะนั้น.
           บทว่า  อธิปญฺา   วิปสฺสนา   ท่านอธิบายไว้ว่า   การพิจารณา
อารมณ์      การเห็นแจ้งความดับและความปรากฏโดยความเป็นของสูญ
ชื่อว่า   อธิปัญญาวิปัสสนา - ความเห็นแจ้งด้วยอธิปัญญา.
            บทว่า   กุสโล   ตีสุ   อนุปสฺสนาสุ    ได้แก่    ภิกษุผู้ฉลาด
ในอนุปัสนา   ๓   มีอนิจจานุปัสนาเป็นต้น.
            บทว่า   จตูสุ  จ  วิปสฺสนาสุ   ได้แก่   ในวิปัสสนา ๔   มี
นิพพิทานุปัสนาเป็นต้น.
            บทว่า   ตโย  อุปฏฺ€าเน  กุสลตา   ความเป็นผู้ฉลาด  ความ
ปรากฏ ๓ ประการ       ได้แก่     เพราะความเป็นผู้ฉลาดในความปรากฏ
๓ ประการนี้  คือ   โดยความสิ้นไป   โดยความเสื่อมไป   และโดยความ
สูญไป.
            บทว่า  นานาทิฏฺ€ีสุ   น   กมฺปติ - ย่อมไม่หวั่นในทิฏฐิต่าง  ๆ
คือ  ไม่หวั่นไหวในทิฏฐิมีประการต่างๆ   มีสัสสตทิฏฐิเป็นต้น    พระ-
โยคาวจรนั้นมิได้หวั่นไหวอยู่อย่างนี้   มีมนสิการเป็นไปแล้วว่า   สิ่งไม่
ดับย่อมดับ,  สิ่งไม่แตกย่อมแตก   ดังนี้  ก็สละนิมิตอันเป็นไปแล้ว
ในอุปาทะฐิติแห่งสังขารทั้งปวง  ดุจภาชนะเก่ากำลังแตก,  ดุจธุลีละเอียด
กำลังกระจัดกระจาย,   ดุจเมล็ดงาถูกคั่วอยู่  ย่อมเห็นความทำลายนั่นเอง.
พระโยคาวจรนั้น    ย่อมเห็นว่าสังขารทั้งหลายทั้งปวง     ย่อมทำลายไป
ทำลายไปเหมือนบุรุษผู้มีตาดียืนอยู่บนผมสระโบกขรณี หรือบนฝั่งแม่น้ำ