๗๐๒    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๗๐๓
เมื่อฝนหนาเม็ดตก   พึงเห็นฟองน้ำฟองใหญ่ ๆ   ผุดขึ้นๆ   บนหลังน้ำ
แล้วก็แตกไป   ฉะนั้น.
                  พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึงพระโยคาวจรเห็นปานนั้นว่า
                 ยถา  ปุพฺพุฬกํ  ปสฺเส       ยถา  ปสฺเส  มรีจิกํ
                 เอวํ  โลกํ  อเวกฺขนฺตํ       มจฺจุราชา  น  ปสฺสติ.
                             มัจจุราช  ย่อมไม่เห็นผู้พิจารณาเห็นโลกอยู่
                 เหมือนพระโยคาวจรเห็นฟองน้ำ     หรือพยับแดด
                 ฉะนั้น.
                 เมื่อพระโยคาวจรนั้นเห็นบ่อย ๆ    อย่างนี้ว่า     สังขารทั้งหลาย
ทั้งปวง   ย่อมแตกไป ๆ  ดังนี้   ภังคานุปัสนาญาณมีอานิสงส์ ๘    เป็น
บริวารย่อมมีกำลัง.
                  อานิสงส์  ๘  เหล่านี้ คือ
                                 การละภวทิฏฐิ ๑
                                 การสละความใคร่ในชีวิต ๑
                                 การประกอบความขวนขวายในการบุญทุกเมื่อ ๑
                                 ความมีอาชีพบริสุทธิ์  ๑
                                 การละความขวนขวายในการทำบาป ๑
                                 ความปราศจากภัย  ๑
๑. ขุ. ธ. ๒๕/๓๓.
                          การได้ขันติและโสรัจจะ  ๑
                          การอดกลั้นความยินดียินร้าย ๑.
        ด้วยเหตุนั้น   โบราณาจารย์จึงกล่าวว่า
                          อิมานิ  อฏฺ€คฺคุณมุตฺตมานิ
                          ทิสฺวา  ตหึ สมฺมสตี  ปุนปฺปุนํ,
                          อาทิตฺตเจลสฺสิรสูปโม  มุนิ
                          ภงฺคานุปสฺสี  อมตสฺส  ปตฺติยา.
                          พระมุนี   ผู้เห็นสังขารทั้งหลายแตกดับไป
             เนือง ๆ   ครั้นเห็นอานิสงส์อันมีการละภวทิฏฐิเป็น
             ต้น เหล่านี้ว่าเป็นธรรมสูงสุด  ด้วยคุณ ๘ ประการ
             แล้ว  เพื่อบรรลุอมตะคือพระนิพพาน   จึงพิจารณา
             สังขารด้วยภังคานุปัสนาญาณบ่อย ๆ เหมือนบุคคล
             มีผ้าโพกศีรษะอันไฟกำลังลุกไหม้  ฉะนั้น.
                    จบ  อรรถกถาภังคานุปัสสนาญาณนิทเทส