๗๐๖    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๗๐๗
                          ความไม่เป็นไป   ความไม่มีนิมิต   ความไม่มี
                          ธรรมเครื่องประมวลมาและความไม่ปฏิสนธิ
                          ว่าเป็นสุขนี้เป็นญาณในสันติบท      อาทีนว-
                          ญาณนี้ย่อมเกิดในฐานะ  ๕  ญาณในสันติบท
                          ย่อมเกิดในฐานะ   ๕  พระโยคาวจรย่อมรู้ชัด
                          ญาณ  ๑๐   ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฏฐิต่าง ๆ
                          เพราะเป็นผู้ฉลาดในญาณทั้ง  ๒  ฉะนี้แล.
            ชื่อว่าญาณ   เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น    ชื่อว่าปัญญา    เพราะ
อรรถว่ารู้ชัด   เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า   ปัญญาในความปรากฏโดย
ความเป็นภัย  เป็นอาทีนวญาณ.
อรรถกถาทีนวญาณนิทเทส
            ๑๑๕ - ๑๑๙] พึงทราบวินิจฉัยในอาทีนวญาณนิทเทสดังต่อไปนี้
            บทว่า  อุปฺปาโท - ความเกิดขึ้น  คือ  เกิดขึ้นในโลกนี้   เพราะ
กรรมเก่าเป็นปัจจัย.
            บทว่า  ปวตฺตํ - ความเป็นไป   คือ  ความเป็นไปของความเกิด
ขึ้นอย่างนั้น.  บทว่า  นิมิตฺตํ  คือ  สังขารนิมิต    แม้ทั้งหมด.
            บทว่า   อายูหนํ - กรรมประมวลมาเป็นภัย  คือ  กรรมอันเป็น
เหตุแห่งปฏิสนธิต่อไป.  บทว่า  ปฏิสนฺธิ  คือ  การเกิดต่อไป.
            บทว่า  คติ  ได้แก่  คติอันเป็นปฏิสนธิ.
            บทว่า  นิพฺพตฺติ  ได้แก่  การเกิดขึ้นแห่งขันธ์ทั้งหลาย.
            บทว่า   อุปปตฺติ   ได้แก่  ความเป็นไปแห่งวิบาก    ดังที่ท่าน
กล่าวไว้ว่า  สมาปนฺนสฺส วา อุปฺนฺนสฺส  วา - แห่งภิกษุผู้เข้าสมาบัติ
แล้วก็ดี   ผู้เข้าถึงแล้วก็ดี.
            บทว่า   ชาติ   ได้แก่   ชาติมีภพเป็นปัจจัย   อันเป็นปัจจัยของ
ชราเป็นต้น.  โดยตรง  ชาติ  คือ ความปรากฏครั้งแรกแห่งขันธ์ทั้งหลาย
ที่ปรากฏแก่สัตว์ผู้เกิดในที่ภพนั้น ๆ.
            บทว่า   ชรา   ได้แก่    ความเก่าของขันธ์สันดานที่เนื่องกันใน
ภพหนึ่ง  ในสันตติที่รู้กันว่า  มีฟันหักเป็นต้น.
            บทว่า     โสโก     ได้แก่      ความเดือดร้อนใจของผู้ที่ถูกความ
เสื่อมจากญาติเป็นต้นกระทบแล้ว.
            บทว่า    ปริเทโว   ได้แก่   ความพร่ำเพ้อของผู้ที่ถูกความเสื่อม
จากญาติเป็นต้นกระทบ.
            บทว่า   อุปายาโส  ได้แก่   ความแค้นใจมาก,  คือ  โทสะที่เกิด
จากทุกข์ใจมากมายของผู้ที่ถูกความเสื่อมจากญาติเป็นต้นกระทบ.
            อนึ่ง    ในบทนี้ท่านกล่าวถึงญาณในอาทีนวญาณ ๕   มีอุปาทะ
เป็นต้น  ด้วยสามารถเป็นที่ตั้งแห่งอาทีนวญาณ.   ที่เหลือท่านกล่าวด้วย
๑. อภิ. สํ. ๓๔/๘๓๐.