ให้เกิดความปลอดโปร่งใจว่าแม้หทัยที่สะดุ้ง เพราะเห็นโทษด้วยภยตู- |
ปัฏฐานฌานไม่มีภัย มีความปลอดภัยคือไม่มีโทษ. |
อีกอย่างหนึ่ง เพราะจิตของผู้ที่มีอุปาทะเป็นต้นตั้งไว้ด้วยดี โดย |
ความเป็นภัย น้อมไปเพื่อความเป็นปฏิปักษ์ต่อภัยนั้น, ฉะนั้น พึงทราบ |
ว่า บทนี้ ท่านกล่าวเพื่อแสดงถึงอานิสงส์ของอาทีนวญาณ อันสำเร็จ |
แล้วด้วยภยตูปัฏฐานญาณ. |
| |
บทมีอาทิว่า อนุปฺปาโท อปฺปวตฺตํ - ความไม่เกิด ความไม่ |
เป็นไป ได้แก่ นิพพานนั่นเอง. |
บทว่า สนฺติปเท - ในสันติบท ได้แก่ ในส่วนแห่งสันติ คือ |
ในนิพพาน. จริงอยู่ แม้ญาณเกิดขึ้นเพราะถือเอาความต่างกันว่า |
สนฺติปทํ ด้วยการได้ฟังมา. ท่านก็กล่าวว่า สนฺติปเท าณํ - ญาณ |
ในสันติบท ดังนี้. |
บทมีอาทิว่า อุปฺปาโท ภยํ, อนุปฺปาโท เขมํ - ความเกิดเป็น |
ภัย, ความไม่เกิดปลอดภัย ท่านย่อบททั้งสอง ด้วยสามารถเป็นฝ่ายตรง |
กันข้ามต่อกัน แล้วกล่าวถือญาณที่เกิดขึ้น. |
อนึ่ง ในบทนี้ เพราะภัยเป็นทุกข์แน่นอน. และสิ่งใดเป็นทุกข์ |
สิ่งนั้นชื่อว่ามีอามิส เพราะไม่พ้นไปจากอามิส คือ วัฏฏะ อามิส คือ |
โลก และอามิสคือกิเลส. อนึ่ง สิ่งใดมีอามิส สิ่งนั้นเป็นเพียงสังขาร |
เท่านั้น. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวบทมีอาทิว่า อุปฺปาโท ทุกฺขนฺติ |