๗๑๐    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๗๑๑
ภยตูปฏฺ€าเน  ปญฺา   อาทีนเว   าณํ - ปัญญาในความปรากฏเป็น
ของน่ากลัวว่า  ความเกิดเป็นทุกข์  เป็นอาทีนวญาณ.
             แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น พึงทราบความต่างกันในบทนี้  ด้วยสามารถ
ความเป็นไป   โดยความต่างกัน   โดยอาการอย่างนี้   คือ    โดยอาการ
น่ากลัว  โดยอาการเป็นทุกข์  โดยอาการมีอามิส  โดยอาการเป็น
สังขาร.
            ท่านไม่ได้เพ่งถึงลิงค์   มีอุปปาทะเป็นต้นว่า   อุปฺปาโท   ภยํ,
ทุกฺขํ,  สามิสํ,  สงฺขารา   จ - ความเกิดเป็นภัย,   เป็นทุกข์,   เป็นอามิส,
และเป็นสังขาร   แล้วจึงกล่าวเพ่งถึงลิงค์ของตนดุจในบทมีอาทิว่า   เนตํ
โข  สรณํ  เขมํ,  เนตํ  สรณมุตฺตม - นี้แลไม่ใช่ที่พึ่งอันเกษม, นี้ไม่ใช่
ที่พึ่งอันอุดม.
             อนึ่ง  บทว่า   สงฺขารา    ท่านมิได้เพ่งความเป็นอย่างเดียว   จึง
ทำเป็นพหุวจนะดุจในประโยคมีอาทิว่า  อปฺปจฺจยา   ธมฺมา,  อสงฺขตา
ธมฺมา - ธรรมทั้งหลายที่ไม่มีปัจจัย,   ธรรมทั้งหลายที่เป็นอสังขตะ.
หรือว่าเพราะ  อุปฺปาโท   เป็นต้นเป็นเอกเทศของสังขาร   พึงทราบว่า
ท่านทำเป็นพหุวจนะแม้ในเอกเทศของสังขารเป็นอันมาก    ดุจในบทมี
อาทิว่า  อุตฺตเร   ปญฺจาลา, ทกฺขิเณ   ปญฺจาลา - ชาวปัญจาลนคร
ในทิศอุดร,  ชาวปัญจาลนครในทิศทักษิณ.
๑. ขุ. ธ. ๒๕/๒๔. ๒. อภิ. สํ. ๓๔/๓.
            บทว่า เขมํ สุขํ นิรามิสํ  นิพฺพานํ - นิพพานเป็นความปลอดภัย
เป็นความสุข   ไม่มีอามิส   คือ  ท่านกล่าวนิพพานนั่นแลเป็น ๔ อย่าง
โดยเป็นปฏิปักษ์ต่ออาการดังกล่าวแล้ว.
            บทว่า  ทส  าเณ  ปชานาติ - พระโยคาวจรย่อมรู้ญาณ ๑๐
ได้แก่  พระโยคาวจรเมื่อรู้อาทีนวญาณ   ย่อมรู้   ย่อมแทงตลอด   ย่อม
ทำให้แจ้งซึ่งญาณ  ๑๐  คือ   ญาณอันเป็นที่ตั้งของ   อุปฺปาท - การเกิด
เป็นต้น ๕,  ญาณอันเป็นที่ตั้งของ  อนุปฺปาท - การไม่เกิด ๕.
            บทว่า  ทวินฺนํ  าณานํ  กุสลตา - เพราะเป็นผู้ฉลาดในญาณ
ทั้ง ๒  ได้แก่   เพราะความเป็นผู้ฉลาดในญาณทั้ง ๒ อย่างเหล่านี้    คือ
อาทีนวญาณ และ  สันติปทญาณ.
            บทว่า  นานาทิฏฺ€ีสุ  น  กมฺปติ - ย่อมไม่หวั่นไหวในทิฏฐิต่าง ๆ
คือ   ไม่หวั่นไหวในทิฏฐิทั้งหลาย   อันเป็นไปแล้วด้วยสามารถนิพพาน
อันเป็นทิฏฐธรรมอย่างยิ่ง.
                          จบ  อรรถกถาอาทีนวญาณนิทเทส
สังขารุเปกขาญาณนิทเทส
             [๑๒๐]   ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสีย ทั้งพิจารณา
หาทางและวางเฉยอยู่   เป็นสังขารุเปกขาญาณอย่างไร ?