๗๒๐    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๗๒๑
ได้อนิมิตตวิหารสมาบัติ   เป็นสังขารุเปกขาญาณ  ๑   สังขารุเปกขาญาณ
๑๐ เหล่านี้    ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา.
             [๑๓๕]  สังขารุเปกขาเป็นกุศลเท่าไร  เป็นอกุศลเท่าไร   เป็น
อัพยากฤตเท่าไร ?  สังขารุเปกขาเป็นกุศล ๑๕  เป็นอัพยากฤต ๓  เป็น
อกุศลไม่มี
                        ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉย   เป็น
            โคจรภูมิของสมาธิจิต  ๘   เป็นโคจรภูมิของปุถุชน ๒
            เป็นโคจรภูมิของพระเสขะ ๓     เป็นเครื่องให้จิตของ
            ท่านผู้ปราศจากราคะหลีกไป   ๓     เป็นปัจจัยแห่ง
            สมาธิ  ๘  เป็นโคจรแห่งภูมิแห่งญาณ  ๑๐   สังขารุ-
            เปกขา ๘  เป็นปัจจัยแห่งวิโมกข์ ๓  อาการ ๑๘  นี้
            พระโยคาวจรอบรมแล้วด้วยปัญญา   พระโยคาวจร
            ผู้ฉลาดในสังขารุเปกขา      ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะ
            ทิฏฐิต่าง ๆ  ฉะนี้แล.
            ชื่อว่าญาณ    เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น    ชื่อว่าปัญญา    เพราะ
อรรถว่ารู้ชัด    เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า    ปัญญาเครื่องความเป็นผู้
ใคร่จะพ้นไปทั้งพิจารณาหาทางและวางเฉย   เป็นสังขารุเปกขาญาณ.
อรรถกถาสังขารุเปกขาญาณนิทเทส
             ๑๒๐ - ๑๓๕]  พึงทราบวินิจฉัยในสังขารุเปกขาญาณนิทเทส
ดังต่อไปนี้      ทว่า  อุปฺปาทา  เป็นต้น  มีอรรถดังได้กล่าวไว้แล้วนั่นแล.
             บททั้งหลายว่า  ทุกฺขนฺติ ภยนฺติ  สามิสนฺติ  สงฺขารา - ความ
เกิดขึ้นเป็นทุกข์    ความเกิดขึ้นเป็นภัย    ความเกิดขึ้นมีอามิส      ความ
เกิดขึ้นเป็นสังขาร   เป็นคำแสดงเหตุของญาณ   คือ   ความหลุดพ้นจาก
อุปฺปาทา  เป็นต้น.
            อนึ่ง พระสารีบุตร ครั้นแสดงถึงสังขารุเปกขาญาณ โดยลักษณะ
อย่างนี้แล้ว   บัดนี้   เพื่อแสดงโดยอรรถ  จึงกล่าวบทมีอาทิว่า  อุปฺปาโท
สงฺขารา,  เต  สงฺขาเร  อชฺฌุเปกฺขตีติ  สงฺขารุเปกขา - ความเกิดขึ้น
เป็นสังขาร,   ญาณวางเฉยสังขารเหล่านั้น    เพราะเหตุนั้น    จึงชื่อว่า
สังขารุเปกขาญาณ.
            ในบทเหล่านั้น  บทว่า  สงฺขาเร   อชฺฌุเปกฺขติ - ญาณวางเฉย
ในสังขาร   ความว่า   เมื่อพระโยคาวจรนั้นเริ่มเจริญวิปัสสนา   ละความ
ขวนขวายในการค้นหาลักษณะ  เพราะเห็นพระไตรลักษณ์ด้วยวิปัสสนา
ญาณแล้ว    เห็นภพ ๓    ดุจไฟติดทั่วแล้ว    มีความเป็นกลางในการถือ
สังขารวิปัสสนาญาณนั้น  ย่อมเห็นสังขารเหล่านั้นโดยพิเศษ   และเห็น
คือ     มองดูญาณที่เว้นแล้วด้วยการถือเอา     เพราะเหตุนั้น      จึงชื่อว่า
สังขารุเปกขาญาณ.  เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวว่า ผู้ชนะโดยพิเศษ ชื่อว่า