๗๒๒    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๗๒๓
ย่อมชนะยิ่งในโลก    ผู้เว้นอาหาร   ขออยู่ด้วย   ก็ชื่อว่า    เข้าไปอาศัย.
ญาณที่เห็นแจ้งสังขารโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้นอีก       เห็นแจ้ง
แม้สังขารุเปกขา  ซึ่งตั้งอยู่ในความเป็นกลาง  โดยความเป็นของไม่เที่ยง
เป็นต้นในการยึดถือ   ท่านจึงกล่าวบทมีอาทิว่า   เย จ สงฺขารา,  ยา จ
อุเปกฺขา - ทั้งสังขารและอุเบกขาเป็นสังขาร   เพราะเกิดพร้อมกันด้วย
สังขารุเบกขา   อันตั้งอยู่โดยอาการเป็นกลาง  ในการยึดถือสังขารุเปกขา
แม้นั้น.
            บัดนี้     พระสารีบุตรเพื่อจะแสดงประเภทของการน้อมจิตไปใน
สังขารุเปกขา   จึงกล่าวบทมีอาทิว่า   กตีหากาเรหิ - ด้วยอาการเท่าไร.
ในบทเหล่านั้น    บทว่า    สงฺขารุเปกฺขาย    เป็นสัตตมีวิภัตติ   แปลว่า
ในสังขารุเบกขา.    บทว่า  จิตฺตสฺส   อภินีหาโร - การน้อมไปแห่งจิต
ได้แก่     การทำจิตอื่นจากนั้นให้มุ่งไปสู่ความวางเฉยของสังขาร      แล้ว
นำไปอย่างหนักหน่วง.   อภิ   ศัพท์  ในบทนี้   มีความว่ามุ่งหน้า.   นี
ศัพท์     มีความว่าอย่างยิ่ง     พระสารีบุตรประสงค์จะแก้คำถามที่ถามว่า
กตีหากาเรหิ - ด้วยอาการเท่าไร ตอบว่า  อฏฺ€หากาเรหิ - ด้วยอาการ
๘   อย่าง     แล้วจึงแสดงอาการ   ๘  เหล่านั้น    ด้วยแก้คำถามข้อที่ ๒
จึงไม่แสดงอาการเหล่านั้น   ได้ตั้งคำถามมีอาทิว่า   ปุถุชฺชนสฺส   กตี-
หากาเรหิ - การน้อมจิตไปในสังขารุเบกขาของปุถุชน ด้วยอาการเท่าไร
ในบทว่า  ปุถุชฺชนสฺส  นี้มีคาถาดังต่อไปนี้                            ์
               ทุเว  ปุถุชฺชนา  วุตฺตา       พุทฺเธนาทิจฺจพนฺธุนา
               อนฺโธ  ปุถุชฺชโน  เอโก    กลฺยาเณโก  ปุถุชฺชโน.
                       พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์  ตรัส
               ถึงปุถุชนไว้ ๒ จำพวก    พวกหนึ่งเป็นอันธปุถุชน
               พวกหนึ่งเป็นกัลยาณปุถุชน.
               ในปุถุชน ๒ จำพวกนั้น ปุถุชนที่ไม่มีการเรียน  การสอบถาม
การฟัง  การจำและการพิจารณาเป็นต้น ในขันธ์  ธาตุ  อายตนะ เป็นต้น
เป็น อันธปุถุชน  ปุถุชนที่มีการเรียนเป็นต้นเหล่านั้น  เป็นกัลยาณ-
ปุถุชน.   แม้ปุถุชน ๒ จำพวกนี้ก็มีคาถาว่า
               ปุถูนํ  ชนนาทีหิ         การเณหิ  ปุถุชฺชโน
               ปุถุชฺชนนฺโตคธตฺตา      ปุถุวายํ  ชโน  อิติ.
                     ชื่อว่า  ปุถุชนด้วยเหตุยังกิเลสหนาให้เกิด
               ขึ้น เพราะความเป็นผู้มีกิเลสหนาหยั่งลงถึงภายใน
               จึงชื่อว่า เป็นปุถุชน.
               ชื่อว่า   ปุถุชนด้วยเหตุยังกิเลสเป็นต้นมีประการต่าง ๆ   อันหนา
ให้เกิด.   ดังที่ท่านกล่าวว่า
                       ชื่อว่า  ปุถุชน   เพราะอรรถว่ายังกิเลสอัน
               หนาให้เกิด     เพราะอรรถว่าไม่จำกัดสักกายทิฏฐิ
               อันหนาออกไป,     เพราะอรรถว่าเลือกหน้าศาสดา