๗๒๔    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๗๒๕
               มาก   เพราะอรรถว่าคติทั้งปวงร้อยไว้มาก   เพราะ
               อรรถว่าย่อมตกแต่งด้วยอภิสังขารต่าง ๆ มาก เพราะ
               อรรถว่าย่อมลอยไปด้วยโอฆะต่าง ๆ   มาก   เพราะ
               อรรถว่าย่อมเดือดร้อน       เพราะกิเลสเป็นเหตุให้
               เดือดร้อนต่าง ๆ มาก,      เพราะอรรถว่าถูกเผาด้วย
               อันตรายต่าง ๆ  มาก,    เพราะอรรถว่าเป็นผู้กำหนัด
               ยินดี   ขอบใจ   หลงใหล   ซบ   ติดใจ   เกาะเกี่ยว
               พัวพัน   ในกามคุณ ๕,     เพราะอรรถว่าถูกร้อยรัด
               ปกคลุม  ปิดบัง  หุ้มห่อ  ปกปิด คดโกงมาก   ด้วย
               นิวรณ์   ๕ดังนี้.
               อีกอย่างหนึ่ง   ชื่อว่า   ปุถุชน   เพราะชนมีกิเลสหนาเหลือที่จะ
นับ  หันหลังให้อริยธรรม  ประพฤติธรรมต่ำ,    อีกอย่างหนึ่ง   เพราะ
คนกิเลสหนาจัดอยู่ต่างหาก    ไม่สังสรรค์กับพระอริยเจ้าผู้ประกอบด้วย
คุณ มีความเป็นผู้มีศีลและสุตะเป็นต้น. ในปุถุชน ๒ จำพวกนั้น ในที่นี้
ท่านประสงค์เอากัลยาณปุถุชน,   เพราะชนนอกนั้นไม่มีการเจริญภาวนา
เลย.
              ในบทว่า  เสกฺขสฺส  นี้    ได้แก่   พระเสกขะ ๗ จำพวก  คือ
ผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค   โสดาปัตติผล    สกทาคามิมรรค  สกทาคามิ-
๑. ขุ. มหา. ๒๙/๔๓๐.
ผล  อนาคามิมรรค    อนาคามิผลและอรหัตมรรค    ชื่อว่า    เสกขะ
เพราะท่านเหล่านั้นยังสิกขา  ๓.     ในพระเสกขะเหล่านั้นในที่นี้
ท่านประสงค์เอาพระเสกขะ ๓ จำพวก   ผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล     สก-
ทาคามิผลและอนาคามิผล    เพราะท่านผู้ตั้งอยู่ในมรรค   ไม่น้อมจิตไป
ในสังขารุเบกขา.
            ในบทว่า   วีตราคสฺส   นี้   ชื่อว่า   วีตราโค   เพราะมีราคะ
ปราศจากไปแล้ว    โดยปราศจากไป    ด้วยสมุจเฉทปหาน.    บทนี้เป็น
ชื่อของพระอรหัต.  แม้ใน ๓ บทนั้น   ท่านก็ทำให้เป็นเอกวฺจนะ  โดย
ถือเอาชาติ.
             บทว่า   สงฺขรุเปกฺขํ   อภินนฺทติ - พระเสกขะย่อมยินดีสังขา-
รุเบกขา   ความว่า   พระเสกขะ    ครั้นได้สัญญาในธรรมเป็นเครื่องอยู่
เป็นผาสุก  ในธรรมเป็นเครื่องอยู่   คือ   อุเบกขานั้นแล้ว   เป็นผู้มุ่งไป
สู่สังขารุเบกขาด้วยความปรารถนาในผาสุวิหารธรรม  ย่อมยินดี   อธิบาย
ว่า  ยังตัณหาอันมีปีติให้เกิดขึ้น.
             บทว่า  วิปสฺสติ - ย่อมเห็นแจ้ง   คือ พระเสกขะย่อมเห็นหลาย ๆ
อย่าง  ด้วยลักษณะมีความไม่เที่ยงเป็นต้นเพื่อได้โสดาปัตติมรรค,  พระ-
เสกขะย่อมเห็นเพื่อได้มรรคชั้นสูง, พระเสกขะผู้ปราศจากราคะย่อมเห็น
เพื่ออยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม.