๗๒๘    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๗๒๙
กำหนดไว้ในกาลใกล้ว่า  เราจักเสวยโลกุตรสุข ดังนี้  แล้วเข้าผลสมาบัติ
ในขณะที่ตนปรารถนา  ๆ.
            การเข้าสมาบัตินั้นเป็นอย่างไร ?  ตั้งไว้เป็นอย่างไร.   ออก
เป็นอย่างไร ?     แก้ว่า   การเข้าสมาบัตินั้นย่อมมีได้ด้วยอาการ ๒  อย่าง
คือ    ไม่ใสใจถึงอารมณ์อื่น    นอกจากนิพพาน ๑    ใส่ใจนิพพาน  ๑.
ดังที่ท่านกล่าวว่า
                    ดูก่อนอาวุโส   ปัจจัย ๒ อย่าง   คือ  การ
                ไม่ใส่ใจถึงนิมิตทั้งปวง   ด้วยสมาบัติอันเป็นเจโต-
                วิมุตติ    หานิมิตมิได้   ๑  การใส่ใจด้วยธาตุอันหา
                นิมิตมิได้ ๑.
นี้เป็นลำดับของการเข้าสมาบัติในที่นี้,      จริงอยู่พระอริยสาวกผู้มีความ
ต้องการด้วยผลสมาบัติไปในที่ลับหลีกเร้นอยู่  พึงพิจารณาสังขารทั้งหลาย
ด้วยอนุปัสนาญาณ    มีอุทยัพพยานุปัสนาญาณเป็นต้น.    จิตของพระ-
อริยสาวกนั้นผู้พิจารณาตามลำดับที่เป็นไปแล้ว      ย่อมเอิบอิ่มในนิโรธ
ด้วยสามารถผลสมาบัติในลำดับแห่งโคตรภูญาณ      อันมีสังขารเป็น
อารมณ์.
            อนึ่ง   เพราะจิตน้อมไปในผลสมาบัติ    ผลนั่นแลย่อมเกิดแม้แก่
พระเสกขะในผลสมาบัตินี้   มิใช่มรรคเกิด.
๑. ม. มู. ๑๒/๕๐๓.
            อนึ่ง    ผู้ใดกล่าวว่าพระโสดาบันเริ่มตั้งวิปัสสนา    ด้วยคิดว่าเรา
จักเข้าผลสมาบัติ ดังนี้   แล้วจะเป็นพระสกทาคามี,   และพระสกทาคามี
ก็จะเป็นพระอนาคามี  ดังนี้.   ผู้นั้นควรกล่าวว่า  เมื่อเป็นอย่างนี้   พระ-
อนาคามีก็จักเป็นพระอรหันต์.    พระอรหันต์ก็จักเป็นพระปัจเจกพุทธะ
และพระปัจเจกพุทธะก็จักเป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้.  เพราะฉะนั้น ข้อนั้น
จึงไม่มีอะไร.    และก็ไม่ควรถือเอาโดยบาลีว่า   ปฏิกฺขิตฺตํ - ถูกห้ามเสีย
แล้วบ้าง.  แต่ควรถือข้อนี้ไว้.  ผลเท่านั้นย่อมเกิดแม้แก่พระเสกขะ  มิใช่
มรรคเกิด.
             อนึ่ง   หากว่า   ผลของมรรคนั้นมีอยู่    เป็นอันว่า    พระเสกขะ
นั้นได้บรรลุมรรคอันมีในปฐมฌาน ญาณอันมีในปฐมฌานนั่นแล ย่อม
เกิด,    หากว่า     มรรคมีในฌานอย่างใดอย่างหนึ่งในทุติยฌานเป็นต้น
ญาณก็มีในฌานอย่างใดอย่างหนึ่งในทุติยฌานเป็นต้นเหมือนกัน   เพราะ
เหตุนั้น   การเข้าสมาบัตินั้น   ย่อมมีได้ด้วยประการฉะนี้แล.
            สมาบัตินั้นตั้งอยู่ด้วยอาการ ๓   เพราะบาลีว่า
                         ดูก่อนอาวุโส   ปัจจัย ๓ อย่าง   คือ  การ
                  ไม่ใส่ใจถึงนิมิตทั้งปวง  เพื่อความตั้งมั่นแห่งเจโต-
                  วิมุตติ    อันหานิมิตมิได้ ๑,   การใส่ใจธาตุอันหา
                  นิมิตมิได้  ๑  การปรุงแต่งในกาลก่อน ๑.
๑. ม. มู. ๑๒/๕๐๓.