๗๓๐    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๗๓๑
            ในบทเหล่านั้น  บทว่า  ปุพฺเพ  จ  อภิสงฺขาโร - การปรุงแต่ง
ในกาลก่อน  คือ  กำหนดกาลก่อนจากเข้าสมาบัติ  การตั้งอยู่ของสมาบัติ
นั้น     ย่อมมีได้    ตราบเท่าที่กาลนั้นยังไม่มาถึง     เพราะกำหนดไว้ว่า
เราจักออกในเวลาโน้น   ดังนี้.   ที่ตั้งของสมาบัติ    ย่อมมีได้อย่างนี้.
            สมาบัตินั้นออกด้วยอาการ ๒   เพราะบาลีว่า
                         ดูก่อนอาวุโส  ปัจจัย ๒ อย่างแล  คือ  การ
                 ใส่ใจถึงนิมิตทั้งปวง   ด้วยการออกจากเจโตวิมุตติ
                 อันไม่มีนิมิต  ๑  การไม่ใส่ใจธาตุอันหานิมิตมิได้ ๑.
            ในบทเหล่านั้น    บทว่า    สพฺพนิมิตฺตานํ   ได้แก่    รูปนิมิต
เวทนานิมิต  สัญญานิมิต    สังขารนิมิต  และวิญญาณนิมิต.  อนึ่ง   แม้
จะไม่ใส่ใจนิมิตทั้งหมดเหล่านั้น  โดยเป็นอันเดียวก็จริง  ถึงดังนั้นท่าน
ก็กล่าวบทว่า  สพฺพนิมิตฺตานํ   นี้   ด้วยสามารถสงเคราะห์เข้าด้วยกัน
ทั้งหมด.   เพราะฉะนั้น.  เมื่อพระโยคาวจรใส่ใจถึงอารมณ์อันมีแก่ภวังค์
ก็เป็นอันออกจากผลสมาบัติ.     เพราะเหตุนั้น    พึงทราบการออกแห่ง
สมาบัตินั้นอย่างนี้.
            อะไรเป็นลำดับของผล, และ ผลเป็นลำดับของอะไร ? แก้ว่า
ผลนั่นแล    หรือภวังค์   เป็นลำดับของผล.    แต่ผลมีอยู่ในลำดับมรรค,
มรรคมีอยู่ในลำดับผล,    ผลมีอยู่ในลำดับโคตรภู    คือ    อนุโลมญาณ
๑. ม. มู. ๑๒/๕๐๓.
ผลมีอยู่ในลำดับของเนวสัญญานาสัญญายตนะ.      ผลมีอยู่ในลำดับของ
มรรค   ในวิถีแห่งมรรคนั้น,   ผลหลัง ๆ   มีอยู่ในลำดับของผลก่อน ๆ.
ผลก่อนๆ  ในผลสมาบัติมีอยู่ในลำดับโคตรภู  คือ  อนุโลมญาณ.
            อนึ่ง   ในบทว่า   โคตรภู  นี้   พึงทราบว่าเป็นอนุโลมญาณ-
ดังที่ท่านกล่าวไว้ในปัฏฐานว่า  อนุโลมญาณ   ของพระอรหันต์  เป็น
ปัจจัยแก่ผลสมาบัติ    ด้วยอำนาจอนันตรปัจจัย.    อนุโลมญาณ
ของพระเสกขะเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ        ด้วยอำนาจอนันตร-
ปัจจัย.  การออกจากนิโรธย่อมมีด้วยผลใด   ผลนั้นย่อมมีในลำดับของ
เนวสัญญานาสัญญายตนะ.    ในบทนั้น    ผลทั้งหมดที่เหลือเว้นผลอัน
เกิดขึ้นในมรรควิถี      ชื่อว่า      เป็นไปแล้วด้วยสามารถแห่งผลสมาบัติ.
ผลนี้เป็นไปแล้วด้วยการเกิดขึ้นในมรรควิถีก็ดี   ในผลสมาบัติก็ดี    ด้วย
ประการฉะนี้.   ท่านกล่าวเป็นคาถาไว้ว่า
               ปฏิปฺปสฺสทฺธทรถํ             อมตารมฺมณํ  สุภํ
               วนฺตโลกามิสํ  สนฺตํ           สามญฺผลมุตฺตมํ.
                        สามัญผลสูงสุดระงับความกระวนกระวาย
               มีอมตะเป็นอารมณ์งาม  คายโลกามิสสงบ  ดังนี้.
นี้  เป็นผลสมาปัตติกถาในนิทเทสนี้.
๑. อภิ. ปฏฺ€าน. ๔๐/๕๐๙.
๒. อภิ. ปฏฺ€าน. ๔๐/๕๑๓.