๗๓๒    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๗๓๓
            บทว่า    ตทชฺฌุเปฺขิตฺวา - วางเฉยสังขารุเบกขานั้น    ได้แก่
วางเฉยสังขารุเบกขานั้น  ด้วยวิปัสสนาญาณเช่นนั้นอย่างหนึ่ง.  ในบท
มีอาทิว่า  สุญฺตวิหาเรน  วา - ด้วยสุญญฺตวิหารสมาบัติ   มีความดังต่อ
ไปนี้      การอยู่ด้วยวิปัสสนา ๓      ของพระอรหันต์ผู้ประสงค์จะอยู่ด้วย
วิปัสสนาวิหารเว้นผลสมาบัติ   เห็นความยึดมั่นตนโดยความน่ากลัว  จึง
น้อมไปใน    สุญญตวิหาร    เห็นความเสื่อมในสังขารุเบกขา    ชื่อว่า
สุญญตวิหาร.
            การอยู่ด้วยวิปัสสนา ๓   ของท่านผู้เห็นสังขารนิมิต   โดยความ
น่ากลัวแล้วน้อมไปใน   อนิมิตตวิหาร  เห็นความเสื่อมในสังขารุเบกขา
ชื่อว่า   อนิมิตตวิหาร.   การอยู่ด้วยวิปัสสนา ๓    ของท่านผู้เห็นความ
ตั้งมั่นในตัณหา โดยความน่ากลัวแล้วน้อมไปใน อัปปณิหิตวิหาร  เห็น
ความเสื่อมในสังขารุเบกขา  ชื่อว่า  อัปปณิหิตวิหาร.   ดังที่ท่านกล่าวไว้
ข้างหน้าว่า
                            พระโยคาวจร   เมื่อเห็นความยึดมั่นสังขาร
                 นิมิต    โดยความน่ากลัวถูกต้องแล้ว ๆ    ย่อมเห็น
                 ความเสื่อม     เพราะมีจิตน้อมไปในสุญญตนิพพาน
                 ชื่อว่า    สุญญตวิหาร.    เมื่อเห็นนิมิต    โดยความ
                 น่ากลัวถูกต้องแล้ว ๆ  ย่อมเห็นความเสื่อม   เพราะ
                 มีจิตน้อมไปในอนิมิตตนิพพาน   ชื่อว่า   อนิมิตต-
                  วิหาร.    เมื่อเห็นปณิธิ   โดยความน่ากลัว   ย่อม
                  เห็นความเสื่อมถูกต้องแล้ว ๆ  ย่อมเห็นความเสื่อม
                  เพราะมีจิตน้อมไปในอัปปณิหิตนิพพาน      ชื่อว่า
                  อัปปณิหิตวิหาร.
จิตของพระอรหันต์นั่นแล   ย่อมเป็นไปในอำนาจโดยอาการทั้งปวง  โดย
ความมีฉฬังคุเบกขา    และโดยมีวิหารธรรมมีความสำคัญในสิ่งปฏิกูลว่า
ไม่เป็นปฏิกูลเป็นต้น,   จากนั้นท่านอธิบายว่า  วิปัสสนาวิหารย่อมสำเร็จ
แก่พระอรหันต์เท่านั้น.ในบทนี้ว่า  วีตราโค  สงฺขารุเปกฺขํ  วิปสฺสติ -
ผู้ปราศจากราคะย่อมเห็นแจ้งสังขารุเบกขา    มีความว่า    วิปัสสนายังไม่
ถึงภัย ๓ อย่าง   และอธิมุตติ ๓ อย่าง   พึงทราบว่า    เป็นวิปัสสนาสิ้น
เชิง.   เมื่อเป็นอย่างนั้นย่อมมีความวิเศษทั้งก่อนและหลัง.
            บัดนี้    พระสารีบุตรประสงค์จะแสดงประเภทของความเป็นอัน
เดียวกันและความต่างกันแห่งสังขารุเบกขา    ด้วยสามารถบุคคล  ๒ - ๓
ประเภท  จึงกล่าวบทมีอาทิว่า  กถํ  ปุถุชฺชนสฺส  จ  เสกฺขสฺส.
            ในบทเหล่านั้น  บทว่า จิตฺตสฺส  อภินีหาโร  เอกตฺตํ  โหติ -
ความน้อมไปแห่งจิตเป็นอย่างเดียวกัน  คือ  เป็นอันเดียวกัน.   พึงทราบ
ว่า   เป็น  ภาววจนะ  ลงใน  สกัตถะ.  ท่านกล่าวว่า  อิทปฺปจฺจยตา
ก็เหมือน  อิทปฺปจฺจยา.  เอกตฺตํ  ก็คือ   เอโก   นั่นเอง.
๑. ขุ. ปะ. ๓๑/๒๐๒.