๗๓๔    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๗๓๕
            บทว่า    อภินิหาโร    เป็นปฐมาวิภัตติ     ลงในอรรถแห่งฉัฏฐิ
วิภัตติ.   คือ  อภินิหารสฺส - แห่งความน้อมไป.    พึงทราบว่า  ท่านทำ
เป็นวิภัตติวิปลาส     ดุจในบทว่า   โส  เทโส  สมฺมชฺชิตฺวา - กวาดที่
พื้นที่นั้น.
            บทว่า   จิตฺตํ  กิลิสฺสติ - จิตเศร้าหมอง  ได้แก่   จิตเศร้าหมอง
ด้วยกิเลส   คือ โลภะได้ในบทว่า วิปสฺสนานิกํ  เป็นข้าศึกแห่งวิปัสสนา
อธิบายว่า   ทำให้เดือดร้อนทำให้ลำบาก.
            บทว่า ภาวนาย ปริปนฺโถ โหติ - มีอันตรายแห่งภาวนา ได้แก่
กำจัดวิปัสสนาภาวนาที่ได้แล้ว.
            บทว่า   ปฏิเวธสฺส  อนฺตราโย   โหติ - มีอันตรายแห่งปฏิเวธ
ได้แก่   เป็นอันตรายแก่การได้สัจปฏิเวธที่ควรได้ด้วยวิปัสสนาภาวนา.
            บทว่า  อายตึ ปฏิสนฺธิยา ปจฺจโย โหติ - มีปัจจัยแห่งปฏิสนธิ
ต่อไป    ความว่า    เมื่อกรรมนั้นให้สุคติปฏิสนธิ    เพราะกรรมสัมปยุต
ด้วยสังขารุเบกขามีกำลัง   กิเลส     คือโลภะ  กล่าวคือ    ความยินดีมีปัจจัย
แห่งสุคติปฏิสนธิ     เป็นกามาวจรในอนาคต    เพราะกรรมมีกิเลสเป็น
สหาย   ย่อมยังวิบากให้เกิด.   ฉะนั้น   กรรมจึงเป็นชนกปัจจัย.   กิเลส
เป็นอุปถัมภกปัจจัย.
           อนึ่ง    บทว่า   อุตฺตริปฏิเวธสฺส - แห่งปฏิเวธในมรรคชั้นสูง
ได้แก่   สัจปฏิเวธด้วยอำนาจสกทาคามิมรรคเป็นต้นของพระเสกขะ.
           บทว่า  อายตึ ปฏิสนฺธิยา ปจฺจโย โหติ  พึงทราบว่า   กิเลส
คือ   ความพอใจเป็นปัจจัยแห่งทุคติปฏิสนธิเป็นกามาวจร  อันกรรม คือ
สังขารุเบกขาให้แก่ฌานในพระเสกขะทั้งหลาย  ที่เป็นพระโสดาบันและ
พระสกทาคามียังไม่บรรลุ.     ไม่เป็นปัจจัยแก่ผู้ได้ฌานและแก่พระอนา-
คามี   ตั้งแต่ปฏิสนธิในพรหมโลก,  กิเลสนี้แหละเป็นปัจจัยแห่งปฏิสนธิ
อันโคตรภูที่เป็นอนุโลมให้.
           บทว่า   อนิจฺจโต   ชื่อว่าโดยความไม่เที่ยง  เพราะอรรถว่ามีแล้ว
ไม่มี  เพราะมีความไม่เที่ยงเป็นที่สุด    เพราะความมีเบื้องต้นและความมี
ที่สุด.
           บทว่า     ทุกฺขโต      ชื่อว่าโดยความเป็นทุกข์    เพราะอรรถว่า
บีบคั้นบ่อย ๆ    เพราะบีบคั้นด้วยความเกิดและความเสื่อม    และเพราะ
เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์.
           บทว่า   อนตฺตโต   ชื่อว่าโดยความเป็นอนัตตา   เพราะอรรถว่า
ไม่เป็นไปในอำนาจ   เพราะอาศัยปัจจัยเป็นไป    และเพราะไม่มีสามี-
เจ้าของไม่มีนิวาสี - ผู้อาศัยอยู่เป็นนิตย์    ไม่มีการก - ผู้ทำและเวทกะ
- ผู้เสวย.
           บทว่า   อนุปสฺสนฏฺเ€น - โดยสภาพแห่งการพิจารณา  ได้แก่
โดยสภาพแห่งการ   โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้นตาม ๆ  กัน.
           บทว่า   อภินีหาโร  นานตฺตํ   โหติ  พึงทราบว่า  การน้อมจิต
ไปต่างกัน   หรือ   ความต่างกันแห่งการน้อมจิต.