๗๓๖    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๗๓๗
            บทว่า  กุสลา   ชื่อว่า   กุศล   เพราะอรรถว่าไม่มีโรค   เพราะ
อรรถว่าไม่มีโทษ   และเพราะอรรถว่าเป็นความฉลาด.
            บทว่า    อพฺยากตา    คือ   พยากรณ์ไม่ได้ว่าเป็นกุศล    หรือ
อกุศล.
            บทว่า  กิญฺจิกาเล  สุวิทิตา - ปรากฏดีในกาลนิดหน่อย  ได้แก่
ปรากฏด้วยดีในกาลแห่งวิปัสสนา.
            บทว่า    กิญฺจิกาเล   น   สุวิทิตา - ไม่ปรากฏดีในกาลนิดหน่อย
คือ  ไม่ปรากฏด้วยดีในกาลแห่งความพอใจ.
            บทว่า    อจฺจนฺตํ   สุวิทิตา - ปรากฏดีโดยส่วนเดียว   ได้แก่
ปรากฏดีโดยส่วนเดียว  เพราะละความพอใจได้แล้ว.
            ในบทนี้ว่า  วิทิตฏฺเ€น  จ  อวิทิตฏฺเ€น จ - โดยสภาพที่ปรากฏ
และโดยสภาพที่ไม่ปรากฏ   มีความว่า   พระเสกขะที่เป็นปุถุชนมีสภาพ
ปรากฏดีแล้วก็ดี  พระเสกขะปราศจากราคะ   มีสภาพปรากฏดีโดยส่วน
เดียวก็ดี   ชื่อว่า   เป็นผู้ปรากฏแล้ว,    แม้ทั้งสองมีสภาพปรากฏไม่ดี   ก็
ชื่อว่า  มีสภาพปรากฏไม่ดีนั่นแล.
            บทว่า   อติตฺตตฺตา - เพราะยังไม่เสร็จกิจ  ได้แก่  เพราะยังไม่
เสร็จกิจที่ควรทำแห่งวิปัสสนา    คือยังไม่ประณีต.    ชื่อว่า   ติตฺตตฺตา
เพราะตรงข้ามกับ  บทว่า  อติตฺตตฺตา  นั้น.
            บทว่า  ติณฺณํ  สญฺโชนานํ  ปหานาย - เพื่อละสังโยชน์  ๓
ได้แก่   เพื่อละสักกายทิฏฐิ  วิจิกิจฉา   สีลัพพตปรามาส.   พระโพธิสัตว์
แม้มีภพสุดท้ายก็ยังสงเคราะห์เข้าในบทนี้เหมือนกัน.     แต่สัตว์ผู้ยังไม่มี
ภพสุดท้ายยังวิปัสสนาให้ถึงสังขารุเบกขาตั้งอยู่.
            บทว่า  โสตาปตฺติมคฺคํ  ปฏิลาภตฺถาย - เพื่อต้องการได้โสดา-
ปัตติมรรค   อาจารย์ทั้งหลายไม่กล่าวย่อไว้.   กล่าวย่อไว้ดีกว่า.
            บทว่า  เสกฺโข  ติณฺณํ  สญฺโชนานํ  ปหีนตฺตา  ท่านกล่าว
โดยความเสมอกันแห่งพระโสดาบัน     พระสกทาคามีและพระอนาคามี
จริงอยู่   สังโยชน์เหล่านั้น    มีพระสกทาคามีและพระอนาคามี   ก็ละ
ได้แล้ว.
            บทว่า  อุตฺตริปฏิลาภตฺถาย - คือ เพื่อต้องการได้มรรคชั้นสูง  ๆ.
            บทว่า   ทิฏฺ€ธมฺมสุขวิหารตฺถาย - เพื่อต้องการอยู่เป็นสุขใน
ปัจจุบัน   ได้แก่   เพื่อต้องการอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน   คือ  ในอัตภาพที่
ประจักษ์.
            บทว่า     วิหารสมาปตฺตฏฺเ€น - โดยสภาพแห่งวิหารสมาบัติ
ได้แก่     โดยสภาพแห่งผลสมาบัติของพระเสกขะ.      โดยสภาพแห่งผล
สมาบัติ   อันเป็นวิปัสสนาวิหารของท่านผู้ปราศจากราคะ.