๗๓๘    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๗๓๙
            บัดนี้      พระสารีบุตรเพื่อแสดงการกำหนดด้วยการคำนวณของ
สังขารุเบกขา   จึงกล่าวบทมีอาทิว่า  กติ  สงฺขารุเปกฺขา - สังขารุเบกขา
เท่าไร ?
            ในบทเหล่านั้น   บทว่า  สมถวเสน  คือ ด้วยสามารถสมาธิ
อีกอย่างหนึ่ง  ปาฐะนี้เหมือนกัน.
           บทว่า    นีวรเณ   ปฏิสงฺขา - ปัญญาพิจารณานิวรณ์   ได้แก่
กำหนดโดยความที่ควรละนิวรณ์ ๕.
           บทว่า   สนฺติฏ€นา - การดำรงไว้   ได้แก่   การดำรงไว้เพราะ
ความเป็นกลาง   ด้วยการเข้าถึงความไม่ขวนขวายในการละนิวรณ์เหล่า-
นั้น  เพราะมุ่งแต่จะละนิวรณ์เหล่านั้น.
           บทว่า   สงฺขารุเปกฺขาสุ   คือ ในการวางเฉยสังขาร  อันกล่าวคือ
นิวรณ์  ด้วยการไม่ทำความขวนขวายในการละนิวรณ์ทั้งหลาย   ในวิตก
วิจารเป็นต้น   และในอุปาทะเป็นต้นก็มีนัยนี้.   ญาณสำเร็จด้วยภาวนา
อันมีกำลังในส่วนเบื้องต้นอันใกล้ด้วยอัปปนาวิถี     ในสมถะ      ชื่อว่า
สังขารุเบกขา.
            ในบทมีอาทิว่า  โสตาปตฺติมคฺคํ  ปฏิลาภตฺถาย - เพื่อได้โสดา-
ปัตติมรรค     คือ     เป็นอันได้มรรคอย่างใดอย่างหนึ่งในสุญญตมรรค
อนิมิตตมรรคและอัปปณิหิตมรรค  ในมรรควาร  ๔.
            ในบทมีอาทิว่า  โสตาปตฺติผลสมาปตฺตตฺถาย - เพื่อต้องการได้
โสดาปัตติผลสมาบัติ  พึงทราบผลสมาบัติอันเป็นอัปปณิหิตะในผลวาร ๔.
เพราะเหตุไร ?   เพราะท่านกล่าวถึงผลสมาบัติ ๒ เหล่านี้    คือ   สุญฺ-
ตวิหารสมาปตฺตถาย - เพื่อต้องการสุญญตวิหารสมาบัติ ๑  อนิมิตฺต-
วิหารสมาปตฺตตฺถาย - เพื่อต้องการอนิมิตตวิหารสมาบัติ  ๑  ไว้ต่างหาก
กัน.
            พึงทราบอนิมิตตมรรคด้วยการออกจากอนิจจานุปัสนา,       พึง
ทราบอนิมิตตผลสมาบัติในกาลแห่งผลสมาบัติ,  พึงทราบอัปปณิหิตมรรค
และผลสมาบัติ   ด้วยการออกจากทุกขานุปัสสนา,   พึงทราบสุญญตมรรค
และผลสมาบัติ   ด้วยการออกจากอนัตตานุปัสสนา  โดยนัยแห่งพระสูตร
นั่นแล.
             อนึ่ง  ในมรรควาร  ๔  เหล่านี้ ท่านกล่าวถึงบทอันเป็นมูลเหตุ ๕
มีอาทิว่า  อุปฺปาทํ - เกิดขึ้น,  บทแห่งไวพจน์ ๑๐  มีอาทิว่า  คตึ  รวม
เป็น ๑๕ บท.   ในผลสมาบัติวาร   ๖   ท่านกล่าวบทอันเป็นมูลเหตุ  ๕
ไว้.
              หากถามว่าเพราะเหตุไร     จึงกล่าวไว้อย่างนั้น.    แก้ว่า     เมื่อ
สังขารุเบกขามีความแก่กล้า   เพื่อแสดงถึงความแก่กล้าของสังขารุเบกขา
นั้น  เพราะมีมรรคสามารถในการละกิเลส    ท่านจึงกล่าวบทอันเป็นมูล
เหตุทำให้มั่นกับบทอันเป็นไวพจน์.  เพื่อแสดงว่าสังขารุเบกขา  แม้อ่อน