๗๔๐    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๗๔๑
ก็เป็นปัจจัยแก่ผล      เพราะความที่ผลมีสภาพสงบโดยความที่หมดความ
อุตสาหะ   และเพราะเป็นที่อาศัยของมรรค   พึงทราบว่า    ท่านกล่าวถึง
บทอันเป็นมูลเหตุเท่านั้น.
            บัดนี้   พระสารีบุตร   ครั้นถามด้วยชาติแล้ว   เพื่อจะแก้ด้วยการ
ได้   จึงกล่าวบทมีอาทิว่า   กติ  สงฺขารุเปกฺขา  กุสลา - สังขารุเบกขา
เป็นกุศลเท่าไร ?
            ในบทนั้น   บทว่า   ปณฺณฺรส  สงฺขารุเปกฺขา - สังขารุเบกขา
เป็นกุศล   มี ๑๕   ได้แก่   ด้วยสมถะ  ๘     และด้วยมรรค ๔     ผล  ๓
เป็น ๗   รวมเป็น ๑๕.   สังขารุเบกขา ๘   ด้วยสามารถสมถะไม่สมควร
แก่ธรรมชื่อว่า  สังขารุเบกขา เพราะพระอรหันต์ไม่มีการพิจารณานิวรณ์
และเพราะเว้นความขวนขวายในการละวิตกวิจารเป็นต้น  เป็นการละได้
โดยง่าย    เพราะเหตุนั้น    พึงทราบว่าท่านไม่กล่าวความที่สังขารุเบกขา
เหล่านั้น เป็นอัพยากฤต.  อนึ่ง พระอรหันต์ผู้เข้าผลสมาบัติ   ไม่สามารถ
เข้าสมาบัติ     เว้นสังขารุเบกขาได้   เพราะเหตุนั้น    ท่านจึงกล่าวสังขา-
รุเบกขา ๓   ว่าเป็นอัพยากฤต.   จริงอยู่   ชื่อว่า   สังขารุเบกขา ๓   ของ
พระอรหันต์ย่อมมีด้วยสามารถอัปปณิหิตะ  สุญญตะ   และอนิมิตตะ.
            บัดนี้   พึงทราบความในคาถาทั้งหลาย ๓   ที่ท่านกล่าวแล้วด้วย
การพรรณนาถึงสังขารุเบกขา  ดังต่อไปนี้.
            บทว่า   ปฏิสงฺขา   สนฺติฏฺ€นา   ปญฺา - ปัญญาที่พิจารณา
หาทางแล้ววางเฉย  ได้แก่   สังขารุเบกขา.
        บทว่า  อฏฺ€  จิตฺตสฺส  โคจรา - เป็นโคจรของสมาธิ  ๘ ความ
ว่า  ท่านกล่าวถึงสังขารุเบกขา  ๘  เป็นวิสยะคือภูมิของสมาธิ  ด้วย
สามารถสมถะ.  ท่านอธิบายถึง  สมาธิ  ด้วยหัวข้อว่า  จิต  ดุจใน
ประโยคมีอาทิว่า  จิตฺตํ  ปญฺญฺจ  ภาวยํ - เจริญสมาธิและปัญญา,
ท่านอธิบาย  วิสยะ  ด้วย  โคจร  ศัพท์  ดุจในประโยคมีอาทิว่า  โคจเร
ภิกฺขเว  จรถ  สเก  เปตฺติกา วิสเย - เจริญสมาธิและปัญญา,
จงเที่ยวไปในโคจร  อันเป็นถิ่นที่อยู่บิดาตน.  ท่านกล่าวว่า  นี้เป็นโคจร
ของผู้อาศัย.  บทว่า  ปุถุชฺชนสฺส  เทวฺ - โคจรภูมิของปุถุชน  ๒  คือด้วย
สามารถแห่งสมถะและวิปัสสนา. บทว่า  ตโย  เสกฺขสฺส - โคจรของ
พระเสกขะ  ๓  ได้แก่  ด้วยสามารถแห่งสมถะ  วิปัสสนาและสมาบัติ.
        บทว่า  ตโย  จ วีตราคสฺส - โคจรของผู้ปราศจากราคะ  ๓  ได้แก่
ด้วยสามารถแห่งผลสมาบัติอันเป็นอัปปณิหิตะ  สุญญตะ  และอนิมิตตะ.
ควรกล่าวว่า  ติสฺโส  ท่านทำเป็นลิงควิปลาสว่า  ตโย.  หรือพึง
ประกอบว่า  ตโย  สงฺขารุเปกฺขา  ธมฺมา - ธรรม  คือ  สังขารุเบกขา
๓  อย่าง.
        บทว่า  เยหิ  จิตฺตํ  วิวฏฺฏติ - จิตปราศจากราคะหลีกไป  ความว่า
จิตหลีกไปจากวิตกวิจารเป็นต้นด้วยธรรม  คือ  สังขารุเบกขา,  หรือจาก
๑. สํ. ส. ๑๕/๑๖. ๒. สํ. มหา. ๑๙/๗๐๓.