๗๔๖    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๗๔๗
ปฏิสนธิ  เพื่ออรหัตผลสมาบัติ   ๑  เพื่อสุญญตวิหารสมาบัติ  ๑  และเพื่อ
สมาบัติ  ๑  โคตรภูธรรม  ๑๐  นี้  ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนา.
            [๑๔๑]  โคตรภูธรรมเป็นกุศลเท่าไร  เป็นอกุศลเท่าไร  เป็น
อัพยากฤตเท่าไร ? โคตรภูธรรมเป็นกุศล  ๑๕  เป็นอัพยากฤต  ๓  เป็น
อกุศลไม่มี.
            [๑๔๒]   โคตรภูญาณ ๘ คือ  โคตรภูญาณที่มีอามิส
            ๑   ไม่มีอามิส ๑  มีที่ตั้ง  ๑  ไม่มีที่ตั้ง  ๑  เป็น
            สุญญตะ  ๑  เป็นวิสุญญตะ  ๑  เป็นวุฏฐิตะ  ๑  เป็น
            อวุฏฐิตะ  ๑  เป็นปัจจัยแห่งสมาธิ  โคตรภูญาณ  ๑๐
            เป็นโคตรแห่งวิปัสสนาญาณ  โคตรภูธรรม  ๑๘
            เป็นปัจจัยแห่งวิโมกข์  ๓  โคตรภูธรรมมีอาการ ๑๘
            นี้  พระโยคาวจรอบรมแล้วด้วยปัญญา   พระโยคา-
            วจรเป็นผู้ฉลาดในโคตรภูญาณ  อันเป็นเครื่องหลีก
            ไปและในโคตรภูญาณ อันเห็นเครื่องออกไป  ย่อม
            ไม่หวั่นไหวเพราะทิฏฐิต่าง ๆ  ฉะนี้แล.
            ชื่อว่าญาณ    เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น   ชื่อว่าปัญญา    เพราะ
อรรถว่ารู้ชัด   เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า   ปัญญาในการออกไป  และ
หลีกไปจากสังขารนิมิตภายนอก  เป็นโคตรภูญาณ.
อรรถกถาโคตรภูญาณนิทเทส
            [๑๓๖-๑๔๐]  พึงทราบวินิจฉัยในโคตรภูญาณนิทเทสดังต่อไป
นี้.
            บทว่า   อภิภุยฺย - ครอบงำ   คือ   ย่อมครอบงำ   ย่อมก้าวล่วง.
            บทว่า   พหิทฺธา   สงฺขารนิมิตฺตํ -  สังขารนิมิตภายนอก   ได้แก่
สังขารนิมิต อันเป็นภายนอกจากกุศลขันธ์อันเป็นไปแล้วในสันดานของ
ตน.   จริงอยู่   สังขารอันเป็นโลกิยะท่านกล่าวว่า  เป็นนิมิต   เพราะเป็น
เครื่องหมายแห่งกิเลสทั้งหลาย,  หรือ เพราะตั้งขึ้นด้วยอาการของนิมิต.
            บทว่า   อภิภุยฺยตีติ   โคตรภู -  ชื่อว่าโคตรภู    เพราะครอบงำ
ท่านกล่าวถึงความเป็นโคตรภู   เพราะครอบงำโคตรของปุถุชน.
            บทว่า  ปกฺขนฺทตีติ   โคฺตรภู - ชื่อว่าโคตรภู   เพราะอรรถว่าแล่น
ไป  คือ  ท่านกล่าวถึงความเป็นโคตรภู      เพราะความเกิดขึ้นแห่งโคตร
พระอริยะ.
            บทว่า  อภิภุยฺยิตฺวา   ปกฺขนฺทตีติ    โคตรภู  - ชื่อว่าโคตรภู
เพราะครอบงำแล้วแล่นไป    คือ   ท่านกล่าวย่อความทั้งสอง.
            บทว่า  วุฏฺ€าตีติ   โคตรภูติ  จ   วิวฏฺฏตีติ   โคตรภู    จ -
ชื่อว่าโคตรภู     เพราะอรรถว่าออกไป   และเพราะอรรถว่าหลีกไป   คือ
ท่านกล่าวถึงอรรถ   คือ   ความครอบงำโคตรปุถุชนโดยสมควรแก่บทว่า