๗๔๘    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๗๔๙
วุฏฐานะ  -  การออก  วิวัฏฏนะ - การหลีกไปแห่งมาติกา.     พึงทราบ
อรรถว่า ชื่อว่าโคตรภู  เพราะครอบงำโคตรมีนิวรณ์เป็นต้น  แห่งโคตรภู
ดังกล่าวแล้วด้วยสมถะ,   ชื่อว่าโคตรภู   เพราะครอบงำโคตรมีความเกิด
เป็นต้น  ในสมาบัติวาร   ๖  มีอาทิว่า โสตาปตฺติผลสมาปตฺตตฺถาย-
เพื่อต้องการโสดาปัตติผลสมาบัติ,    ชื่อว่าโคตรภู    เพราะครอบงำโคตร
มีโสดาบันเป็นต้น.
          ในมรรควาร  ๓ มีอาทิว่า    สกทาคานิมคฺคปฏิลาภตฺถาย -
เพื่อต้องการได้สกทาคามิมรรค.
           อนึ่ง  ในบทว่า  โคตฺรภู   นี้   มีอรรถว่าโคตร   และมีอรรถว่า
พืช.   นัยว่าในอัตตนิปกรณ์  ท่านกล่าว   นิพพาน ว่า โคตฺตํ - โคตร
เพราะคุ้มครองจากอันตรายทั้งปวง      ชื่อว่าโคตรภู   เพราะดำเนินไปสู่
นิพพานนั้น,    แม้สมาบัติ  ๘  ก็ชื่อว่า   โคตฺตํ - โคตร    เพราะคุ้มครอง
จากอันตรายของโคตรภู,  โคตรนั้นท่านกล่าวว่า  โคตรภู  เพราะดำเนิน
ไปสู่โคตร.
           อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า    โคตรภูแห่งมรรค  ๔  มีนิพพานเป็น
อารมณ์,  โคตรภูแห่งผลสมาบัติ  มีสังขารเป็นอารมณ์  เพราะน้อมไป
ในผลสมาบัติ.   ดังที่ท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคว่า    จิต  ของพระโย-
คาวจร  ผู้เห็นแจ้งตามลำดับอันเป็นไปแล้วนั้น   ย่อมเอิบอิ่มในนิโรธด้วย
สามารถแห่งผลสมาบัติในระหว่างโคตรภูญาณมีสังขารเป็นอารมณ์  ด้วย
เหตุนั้นแลในมรรควารนี้    พึงทราบว่า  ท่านทำจิตที่ ๑๖ แล้วถือเอาจิต
ที่   ๖   ในสมาบัติวารแห่งบทสังขารนิมิตภายนอกที่ถือเอาแล้ว   จึงไม่ถือ
เอา.  โดยประการนอกนี้    พึงถือเอาการถือบทอันเป็นมูลเหตุ.
            [๑๔๑]  ก็อาจารย์เหล่าอื่นกล่าวว่า  การผูกใจครั้งแรกในนิพพาน
เป็นการรวบรวมครั้งแรก   นี้ท่านกล่าวว่าโคตรภู.   โคตรภูหมายถึงผลนั้น
ไม่ถูก.
            ในบทนี้ว่า  ปณฺณรส  โคตรภูขธมฺม   กุสลา -โคตรภูธรรม
เป็นกุศล  ๑๕  พึงทราบอธิบายดังต่อไปนี้    ชื่อว่าโคตรภูย่อมไม่สมควร
แก่พระอรหันต์    เพราะไม่มีนิวรณ์อันควรครอบงำ     เพราะวิตกวิจาร
เป็นต้น   พึงละได้ง่าย   และเพราะอรรถว่าครอบงำ    เพราะเหตุนั้นพึง
ทราบว่าท่านทำไว้แล้วไม่กล่าวถึง   เพราะโคตรภูเป็นอัพยากฤต.   อนึ่ง
พระอรหันต์ผู้เข้าผลสมาบัติ   ไม่สามารถครอบงำสังขารเข้าสมาบัติได้
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า   โคตรภูธรรมเป็นอัพยากฤตมี   ๓.     แต่
อาจารย์บางพวกกล่าวว่า    สมาบัติ  ๘ เป็นไปในส่วนแห่งการแทงตลอด
ด้วยสามารถ  อริยมรรคที่ท่านชี้แจงไว้แล้วในที่นี้,   เพราะฉะนั้นโคตรภู
แห่ง   สมาบัติ  ๘  จึงเป็นกุศล.    อนึ่ง   พึงทราบแม้ในสังขารุเปกขาญาณ
 อย่างนั้น.
            [๑๔๒ ]   พึงทราบอธิบายความในคาถามีอาทิว่า  สามิสญฺจ   ดัง
ต่อไปนี้.   บรรดาวัฏฏามิส    โลกามิส   กิเลสามิสทั้งหลาย   โคตรภูญาณ