๗๕๐    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๗๕๑
อามิสด้วยโลกามิส   เพราะยังมีความอยาก.   นั่นคืออะไร ?  คือ   สมถ-
โคตรภูญาณ ๘ อย่าง.  บทว่า   วฏฺฏามิสํ  ในที่นี้  ได้แก่  วัฏฏะเป็นไป
ในภูมิ ๓ นั่นเอง.     บทว่า  โลกามิสํ  ได้แก่   กามคุณ ๕.    บทว่า
กิเลสามิสํ   ได้แก่   กิเลสทั้งหลายนั่นเอง.   บทว่า  นิรามสํ    ได้แก่
วิปัสสนาโคตรภูญาณ  ๑๐  อย่าง   เพราะไม่มีความอยาก.   จริงอยู่  พระ-
อริยะทั้งหลายไม่ทำความอยากในโคตรภู.  ในคัมภีร์อาจารย์ทั้งหลาย
เขียนไว้ว่า   สามิสญฺเจ  นั่นไม่ดีเลย.
            พึงทราบ  ปณิหิตะ   อัปปณิหิตะ,  สัญญุตตะ  วิสัญญุตตะ,
วุฏฐิตะ   อวุฏฺฐิตะ   ดังต่อไปนี้.  ชื่อว่า ปณิหิตะ  คือ  ความปรารถนา
เพราะตั้งอยู่ในความใคร่.   ชื่อว่า อัปปณิหิตะ   เพราะไม่มีที่ตั้ง.   ชื่อว่า
สัญญุตตะ      เพราะประกอบด้วยความอยาก.     ชื่อว่า    วิสัญญุตตะ
เพราะไม่ประกอบด้วยความอยาก.
            บทว่า   วุฏฺ€ิตํ     ได้แก่   โคตรภูญาณอันเป็นวิปัสสนานั่นเอง.
จริงอยู่    โคตรภูญาณนั้น  ชื่อว่า วุฏ€ิตะ  เพราะตัดความอยาก.   นอก
นั้นเป็น   อวุฏ€ิตะ.    อีกอย่างหนึ่ง   ชื่อว่า   วุฎ€ิตะ     เพราะออกไป
ภายนอก.  พึงทราบว่า    แม้ผลโคตรภูอันเป็นสังขารนิมิตภายนอกก็ชื่อว่า
วุฏ€ิตะ   เพราะมุ่งหน้าสู่นิพพานด้วยอัธยาศัยในนิพพาน.   พึงทราบว่า
แม้ในวาระแห่งการครอบงำ   การออก   การหลีกไปในภายหลัง     ก็พึง
ทราบว่า   ผลโคตรภู   ชื่อว่าย่อมครอบงำ   ย่อมออกไป   ย่อมหลีกไป
เพราะมุ่งสู่นิพพาน  ด้วยอัธยาศัย.
            บทว่า   ติณฺณํ   วิโมกฺขานปจฺจยา - เป็นปัจจัยแห่งวิโมกข์ ๓
ได้แก่    สมถโคตรภูเป็นปกตูปนิสสยปัจจัยแก่โลกุตรวิโมกข์  ๓,  วิปัส-
สนาโคตรภูเป็นอนันตระปัจจัย   สมนันตรปัจจัย   และอุปนิสสยปัจจัย.
            บทว่า  ปญฺา   ยสฺส   ปริจฺจิตา -  พระโยคาวจรอบรมแล้ว
ด้วยปัญญา  คือ  ปัญญาอันเป็นส่วนเบื้องต้นอันพระโยคาวจรอบรมแล้ว
คือ  สะสมแล้ว.
            บทว่า   กุสโล  วิวฏฺเฏ    วุฏฺ€าเน  - พระโยคาวจรเป็นผู้ฉลาด
ในการออกไป  ในการหลีกไป  คือ  เป็นผู้ฉลาด    เป็นผู้เฉียบแหลมใน
โคตรภูญาณ  อันได้แก่    วิวัฏฎะด้วยความไม่ลุ่มหลงนั่นแล   หรือเป็นผู้
ฉลาด  ด้วยญาณอันเป็นส่วนเบื้องต้น.
           บทว่า   นานาทิฏฺ€ิสุ   น  กมฺปติ- ย่อมไม่หวั่น  เพราะทิฏฐิ
ต่าง ๆ คือ ไม่หวั่นไหวในทิฏฐิมีประการ ๆ ที่ละได้แล้ว  ด้วยสุจเฉท.
                       จบ  อรรถกถาโคตรภูญาณนิทเทส